สาระล้วนๆ "มะละกอตอนต้นเตี้ย" ปลูกในกระถาง ลูกดก ทำขายได้ แถมปลูกง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก

คอมเมนต์:

สาระล้วนๆ "มะละกอตอนต้นเตี้ย" ปลูกในกระถาง ลูกดก ทำขายได้ แถมปลูกง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก

      มะละกอเป็นต้นที่ปลูกได้ง่าย แต่หลายคนยังไม่ทราบว่าในการตอนต้นมะละกอมีข้อดีหลายประการ อาทิ ได้ลักษณะและคุณภาพผลเหมือนต้นแม่พันธุ์เดิม ไม่ต้องปลูกมะละกอใหม่ทุกปี ช่วยให้เก็บผลผลิตได้ง่าย


 

Sponsored Ad

 

      เนื่องจากต้นมะละกอจะเตี้ยเหมือนกับเริ่มต้นปลูกใหม่ ซึ่งจะส่งผลในเรื่องการจัดการแปลง มีส่วนลดการระบาดของโรคและแมลงได้ เกษตรกรตัดต้นมะละกอทำสาวทุกปีจะตัดวงจรโรคและแมลงได้

ทำไมต้องตอนมะละกอ

 

Sponsored Ad

 

      1. มะละกอตอนได้คุณสมบัติต้นแม่ครบทุกประการ การรอเมล็ดจากผลผลิตไปปลูกจะเพี้ยนไปทุกช่วงรุ่น เช่น เพี้ยนรสชาติ เพี้ยนสี เพี้ยนขนาด เพี้ยนเนื้อบางหนา จนกระทั่งเพี้ยนไม่เหลือเค้าสายพันธุ์เดิมก็มี

      2. เมื่อซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัทมาปลูก จะได้คุณภาพดีเฉพาะรุ่นแรก หากรอเมล็ด (ตามข้อ 1) รุ่นสองและรุ่นต่อไปเพี้ยนไปเรื่อย เพราะเป็นการขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ เมล็ดพันธุ์จากบริษัทต่าง ๆ ถูกโปรแกรมมาให้ได้ผลผลิตดีรุ่นเดียวเท่านั้น ถ้ารุ่นต่อไปเราเอาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้ดีเหมือนรุ่นแรก บริษัทจะขายออกเหรอครับ

 

Sponsored Ad

 

      3. มะละกอตอน ต้นเตี้ย ไม่ต้องชะเง้อสอยให้ลูกตกจนช้ำ การปลูกเพื่อการตลาดจะห่อผลง่าย ดูแลง่าย เก็บง่ายผลไม่ช้ำเป็นแผล ตลาดต้องการ

      4. สามารถปลูกลงกระถาง เหมาะสำหรับสังคมเมือง ผู้ไม่มีที่ดินสำหรับลงปลูก เคลื่อนย้ายสะดวก

      5. ใช้ประดับได้ ทานด้วย


 

Sponsored Ad

 

การตอนมะละกอ มี 2 แบบ

      1. ตอนจากกิ่งแขนงของต้นแม่ที่ให้ผลผลิตดี มะละกอนั้นจะมี 3 เพศ คือต้นตัวเมีย ต้นตัวผู้ และต้นกระเทย มะละกอที่ให้ผลผลิตดีคือมะละกอกระเทย เราจะตัดต้นแม่ที่มีอายุสูงจากพื้นราว 1.5 เมตร มะละกอมีลำต้นกลวง ให้ใช้พลาสติกผูกปิดไว้ด้านบน รอให้แตกแขนง หรือมะละกอแก่จัดบางต้นอาจมีแขนงก็สามารถตอนได้เลย

      2. การตอนจากต้นพันธุ์ดีที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์รุ่นแรก ขนาดตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ โดยกะระยะที่ตอนจากยอดลงมาราว 1 – 2 ฟุต (ตามความต้องการว่าต้องการให้เตี้ยแค่ไหน)

 

Sponsored Ad

 

อุปกรณ์การตอน

      1. ถุงบรรจุขุยมะพร้าวขนาดใหญ่กว่าทั่วไป(ราวถุงแกง)

      2. มีดคมหรือคัตเตอร์ใหญ่

      3. เชือกฟางสำหรับผูกรัด

      4. ไม้เสียบลูกชิ้น/ไม้จิ้มฟันหรือไม้อื่นใด สำหรับกันรอยตัดไม่ให้เนื้อต้นมะละกอกลับมาทบกันอีก


 

Sponsored Ad

 

การบากกิ่งแขนง

      – บากด้วยมีดคมลึก 2 ใน 3 ของกิ่ง ขั้นตอนนี้ต้องระวังไม่ให้แขนงขาดจนเสียเปล่า นำไม้อัดเข้าไปตรงรอยแผล แยกให้เนื้อแขนงมะละกอออกจากกัน

      – การบากมะละกอต้นอ่อน อาจพบปัญหาจากต้นอ่อนที่มีรูกลางต้น จะทำให้หักโค่นง่ายเมื่อเกิดลมแรง อาจใช้ไม้ดามต้นไว้ระยะหนึ่ง

      – การบากต้นอ่อนบางต้นแม้จะใช้ไม้ยันไว้ แต่เนื้อลำต้นอ่อนอาจยุบตัวลงมาทบกันอีก ให้แก้ไขโดยบาก 2 ครั้ง คือตัดเนื้อออกมาแล้วอัดไม้เข้าไป การอัดไม้ ไม่มีวิธีตายตัว อาจอัดขวางหรือตามยาวก็ได้ สาระสำคัญอยู่ที่เนื้อต้นมะละกอต้องไม่กลับมาทบกันอีก

Sponsored Ad

      – ผ่าถุงขุยมะพร้าวที่หมาดน้ำปิดคร่อมส่วนที่บากให้มิด จะคร่อมกิ่ง/ต้น ทั้งหมดหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมิดรอยบาก การผ่าถุงขุยมะพร้าว ผ่าแนวตั้งหรือแนวยาวก็ให้ดูสภาพแต่ละกิ่ง/ต้น เป็นหลักความเหมาะสม (ดูหน้างาน)

      – จากนั้นใช้เชือกฟางผูกรัดถุงขุยมะพร้าวให้แน่น อย่าให้หลวมจนขยับได้

      – การตอนมะละกอใช้ระยะเวลาประมาณ 40 วัน จึงจะเกิดรากใหม่แข็งแรง สามารถตัดได้ ส่วนต้นแม่หลังจากตัดกิ่งแขนงออกไปแล้วอาจโทรม ให้ใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) บำรุงให้เกิดกิ่งแขนงต่อไปได้เรื่อย ๆ

      – กิ่งแขนงหรือต้นที่ตัดออกมาจะเกิดอาการใบเฉาในไม่กี่นาที เนื่องจากมะละกอใบใหญ่ คายน้ำเร็วมาก เมื่อขาดน้ำเลี้ยงจากต้นแม่ จึงควรเลือกเวลาตัดในตอนเย็นหรือในวันแดดน้อย ยิ่งมีฝนด้วยจะดีมาก เพื่อป้องกันการเสียน้ำของกิ่งตอน ควรตัดก้านใบห่างจากกิ่งราว 1 นิ้ว ให้เหลือใบน้อยที่สุดราว 2 – 3 ใบและเหลือยอดไว้แค่นั้น

      – ก้านใบที่เหลือจากการตัดออก จะถูกสลัดทิ้งเองในเวลา 3 – 5 วัน

      – การนำลงปลูก จะปลูกในกระถางหรือปลูกลงดินก็ได้ ระวังอย่ากดดินเหนือกระเปาะตอนหนักมือเกินไป เพราะจะทำให้รากมะละกอขาดได้

      – มะละกอที่ลงปลูก อาจมาจากกิ่งแขนงที่โค้งงอ แก้ไขโดยให้วางกระถางหันยอดที่โค้งงอนั้นเข้าหาร่ม มะละกอจะดัดตัวเองให้ตรงในไม่กี่วัน พร้อมกับการแตกใบใหม่ในระยะแรกราว 12 วัน

หลังจากนั้นเริ่มให้ปุ๋ยยูเรียและสูตรอื่นที่ต้องการได้

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก siamvariety

บทความที่คุณอาจสนใจ