เจ้าของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" เปิดใจขอบคุณที่พาพ่อพลายกลับแผ่นดินไทยบ้านเกิด
คอมเมนต์:
เปิดใจนายสมโรจน์ คูกิจติเกษม เจ้าของอาณาจักรช้างพิพิธภัณฑ์ช้าง จ.สุรินทร์ เจ้าของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" และ "พลายศรีณรงค์" ที่ได้น้อมเกล้าถวายเพื่อพระราชทานแก่ประธานาธิบดีประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนมกราคม 2544
หลังจากภารกิจพา "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับแผ่นดินไทยบ้านเกิด เสร็จสิ้นและเป็นไปอย่างราบรื่น นาย สมโรจน์ ก็ได้ออกมาเปิดใจว่า ถ้ามองถึงความเป็นไป เป็นเรื่องของธรรมชาติ จะดีใจหรือเสียใจ ต้องแยกประเด็น
Sponsored Ad
"พลายศักดิ์สุรินทร์" อยู่กับเราตั้งแต่เกิดจนถึง 10 ปี มีความผูกพันกันในระดับหนึ่ง แต่ด้วยภารกิจความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตนจึงน้อมเกล้าถวายในนามประชาชนชาวจังหวัดสุรินทร์
เมื่อเดินทางไปถึงศรีลังกา ก็ได้รับการต้อนรับเลี้ยงดูอย่างดี โดยทางทางรัฐบาลศรีลังกาได้นำไปฝึกและอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ถามว่างานหนักไหม ซึ่งเขาไม่ได้แห่พระธาตุเขี้ยวแก้วเป็นประจำทุกวัน ก็มีวาระสำคัญ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ตนก็ได้มีโอกาสไปร่วมสังเกตการณ์ มีแต่งองค์ทรงเครื่อง เป็นผ้าคลุมตัวช้าง น้ำหนักก็ไม่ได้เยอะอะไร แล้วก็มีเครื่องไฟกระพริบ หลังจากเสร็จภารกิจวันนั้น พักยาว ทางวัดเขาก็เลี้ยงดูแลอย่างดี
Sponsored Ad
แต่สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตนก็ได้ให้ นายตะวัน มะลิงามและนายทองสุข มะลิงาม ซึ่งเป็นควาญช้างที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับช้าง ไปอยู่ที่นั่นหลายเดือน สืบความเป็นมา ทำไมช้างถึงมีอาการบาดเจ็บที่ขา
สำหรับการกลับแผ่นดินเกิดของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" ถามว่าดีใจไหม ก็ถือเป็นเรื่องดีนะ เหมือนเป็นไม้ขีดดอกหนึ่งที่จุดประกายให้คนสนใจเรื่องช้าง โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนเลี้ยงช้างสุรินทร์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมหนึ่งเดียวในโลกใบนี้ เพราะบ้านเรามีกฎหมายสัตว์พาหนะ ในการดูแลช้างบ้าน แต่ทั่วโลกไม่มี ช้างถือเป็นสัตว์ป่าทั้งหมด
Sponsored Ad
จากวันนั้นจนถึงวันนี้ วันที่พา "พลายศักดิ์สุรินทร์" กลับมาแล้ว มีอะไรที่เราช่วยได้ แต่พอถ้าเกิดความขัดแย้ง หรือแย่งชิงกระแส หรือแย่งซีนเราขอถอยหลังทั้งหมด อีกอย่างเราเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำยังไงที่ไม่ให้มีการขัดแย้ง
ตนเคยจะออกสื่อ แต่วันนี้ที่มานี้ผมยินดีที่จะให้ข้อมูลตรงไปตรงมาและถูกต้อง ไม่อยากให้สร้างภาพโลกสวยแล้วก็ยังนำปัญหาที่มีอยู่ของช้างไทยไม่ได้คลี่คลายไปในทางที่ดี
โชคดีที่พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นช้างที่รู้ภาษา เวลานั้นเขาจะเข้าใจ ขึ้นไปเขารู้ มีการฝึกซ้อม เจ้าหน้าที่ทำงานอย่างดี เข้มแข็งมาก ช้างก็ให้ความร่วมมือ แต่ในความเป็นจริงถ้าเกิดว่าไม่ใช่พลายศักดิ์สุรินทร์ เป็นช้างเชือกอื่นที่ไม่มีการซ้อม การฝึกอย่างดี ปัญหาเกิด อาจจะเกิดอันตรายได้
Sponsored Ad
จากการจุดประเด็นของพลายศักดิ์สุรินทร์ โดยรัฐมนตรีวราวุธ ศิลปอาชา ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้ช่วยกันทำโครงการนี้สำเร็จขึ้นมา ในส่วนลึก ๆ ตนก็ดีใจด้วย
แต่ปัญหาที่มันเกิดขึ้น เนื่องจากควาญที่เคยเลี้ยงดูยาวนานที่อยู่ศรีลังกาคนแรกเขาเสียชีวิต ที่มีปัญหาคือคนที่มาดูแลทีหลัง แล้วก็ช้างพลาย ปัญหาของเขาก็คือ ทุกฤดูกาลจะมีการตกมัน ช้างทุกเชือกจะมีการตกมัน ถ้าช้างไม่ตกมันคือช้างป่วยหรือช้างที่ไม่แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น เพราะฉะนั้น หนีไม่พ้นเรื่องช้างตกมัน เราจะต้องมาเรียนรู้
Sponsored Ad
ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าการนำ พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับมารักษาที่บ้านเกิดนั้น ได้มีการประสานกันอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากกลุ่มอนุรักษ์ที่ประเทศศรีลังกาเขาเห็นความไม่เหมาะสมของควาญช้างที่ดูแลรักษา จริงๆ เรื่องของวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างมันแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่ในใจเราคือเขาควรมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่เขาขาดความเข้าใจ
ที่มา : thaipost, amarintv, mgronline