รู้หรือไม่? "ต้นไม้มีค่า 58 ชนิด" นี้ ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้เงินได้! พร้อมเปิดหลักเกณฑ์เบื้องต้น!

คอมเมนต์:

รู้หรือไม่? "ต้นไม้มีค่า 58 ชนิด" นี้ ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกู้เงินได้!

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปที่เกี่ยวข้องได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ  

        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจร จ.อุบลราชธานี มีมติเห็นชอบให้ออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 เพื่อเปิดทางให้นำไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ 

        โดยกำหนดว่าจะต้องเป็นต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จำนวน 58 ชนิด ที่สามารถนำมาเป็นทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกและมีโอกาสในการประกอบธุรกิจ มากขึ้น

 

Sponsored Ad

 

ต้นไม้ 58 ชนิดที่ใช้ค้ำประกันกู้เงินได้

        สำหรับไม้ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมีจำนวน 58 ชนิด ได้แก่ ไม้สัก พะยูง ชิงชัน กระซิก กระพี้เขาควาย สาธร แดง ประดู่ป่า ประดู่บ้าน มะค่าโมง มะค่าแต้ เคี่ยม เคี่ยมคะนอง เต็ง รัง พะยอม ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะเคียนชันตาแมว ไม้สกุลยาง สะเดา สะเดาเทียน ตะกู ยมหิน ยมหอม

        นางพญาเสือโคร่ง นนทรี สัตบรรณ ตีนเป็ดทะเล พฤกษ์ ปีบ ตะแบกนา เสลา อินทนิลน้ำ ตะแบกเลือด นากบุด ไม้สกุลจำปี แคนา กัลปพฤกษ์ ราชพฤกษ์ สุพรรณิการ์ เหลือง ปรีดียาธร มะหาด มะขามป้อม หว้า จามจุรี พลับพลา กันเกรา กะทังใบใหญ่ หลุมพอ กฤษณา ไม้หอม เทพทาโร ฝาง ไผ่ทุกชนิด ไม้สกุลมะม่วง ไม้สกุลทุเรียน และมะขาม

 

Sponsored Ad

 

        การเสนอเรื่องดังกล่าวให้ ครม.พิจารณา เนื่องมาจากคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม ได้เตรียมการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคมให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งในส่วนของระบบการจัดการ ทรัพยากรและชุมชน พร้อมกับผลักดันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ ยืนต้นมูลค่าสูงในที่ดินกรรมสิทธิ์ เพื่อเป็นการออมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วย

        ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จะเสนอแก้พ.ร.บ.ป่าไม้ ในมาตรา 7 เพื่อให้ประชาชนที่ปลูกไม้ยืนต้นมูลค่าสูงในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือพื้นที่ของ ตนเองสามารถตัดไม้ไปขายได้ หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ ซึ่งถือเป็นวิธีการออมเงินอีกทางหนึ่ง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจขึ้นมา รวมทั้งเป็นการสร้างให้เกิดพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น และสามารถเก็บเป็นมรดกให้ลูกหลานได้ ส่วนต้นไม้แต่ละชนิดจะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่าใดจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถาบันการเงินต่อไป

 

Sponsored Ad

 

        อรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ ระบุว่า ไม้ยืนต้นทั้ง 58 ชนิดที่กำหนดเอาไว้ว่าประชาชนสามารถใช้เป็นสินทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ใช้ค้ำประกันในการทำธุรกรรมต่างๆ ได้ กรมป่าไม้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง ได้ประชุมเพื่อหาแนวทางดำเนินการเรื่องนี้แล้ว โดยจะตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทางประเมินมูลค่าราคาไม้แต่ละชนิด และกำหนดคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น ความเสี่ยงต่อการถูกลักลอบตัด โอกาสในการเจริญเติบโต ซึ่งคุณสมบัติตรงนี้สถาบันทางการเงินจะเป็นผู้ประเมิน โดยเอาหลักการราคากลางที่คณะกรรมการร่วมระหว่างกรมป่าไม้และกระทรวงพาณิชย์ กำหนดออกมาเป็นตัวพิจารณา

 

Sponsored Ad

 

ต้นไม้ 58 ชนิดที่ใช้ค้ำประกันกู้เงินได้

        ทั้งนี้ หากเทียบกับมูลค่าไม้ท่อนที่ทางกรมป่าไม้ได้เข้าไปจับกุมการลักลอบตัดของ กลุ่มลักลอบตัดไม้ มูลค่าของไม้ท่อนของไม้แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ขึ้นกับความนิยมในตลาด และคุณภาพของเนื้อไม้ โดยไม้เนื้อแข็งที่มีปริมาณแก่นไม้มากก็จะมีมูลค่าสูงกว่าไม้ที่มีกระพี้มาก

        ส่วนรายละเอียดขั้นตอนการนำไม้มีค่ามาเป็น หลักประกัน ศรายุทธ ธรเสนา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อธิบายไว้ว่า ธ.ก.ส.ร่วมกับกรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำหนดขั้นตอนและหลักเกณฑ์ในการประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์

 

Sponsored Ad

 

        กำหนดว่า ต้นไม้ต้องมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ปลูกในที่ดินของตนเอง โดยที่ดิน 1 ไร่ รับขึ้นทะเบียนไม่เกิน 400 ต้น การวัดมูลค่าจะต้องมีกรรมการและสมาชิกธนาคารต้นไม้รวมกันอย่างน้อย 3 คน ร่วมประเมินมูลค่าต้นไม้เป็นรายต้น ที่ความสูงจากโคน 130 เซนติเมตร มีขนาดเส้นรอบวงต้นไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร แล้วเปรียบเทียบเส้นรอบวงที่วัดได้กับตารางปริมาณและราคาเนื้อไม้เพื่อหามูลค่าต้นไม้ ฉะนั้นต้นไม้จะเป็นหลักประกันทางธุรกิจอีกประเภทหนึ่ง นอกจากหลักประกันประเภทอื่นๆ กว่าสองเเสนคำขอ เเละมีหลักประกันกว่า 4.8 ล้านล้านบาท

 

Sponsored Ad

 

ชมคลิป...

คลิปเปิดไม่ออก >>>>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<<<

ข้อมูลและภาพจาก khaosod

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ