สาวไทยจากเด็กในโรงปั๊มเหล็ก เกิดไอเดียนำ "เหล็กเก่าชั่งกิโล" ไม่กี่บาท สร้างโคมไฟสุดวิจิตร แม้แต่ต่างชาติยังสั่งจองข้ามปี

คอมเมนต์:

สร้างงานศิลป์แก่สายตาชาวโลก มีออร์เดอร์จากอเมริกากว่าครึ่งคอนเทนเนอร์แทบทุกปี!

    "เศษเหล็ก" อาจจะดูไม่ได้มีราคามากมายในสายตาใครหลายคน แต่หญิงสาวคนหนึ่ง กลับปิ๊งไอเดีย นำเศษเหล็กชั่งกิโลขายได้ราคาไม่กี่บาท มาต่อยอดเป็นผลงานศิลปะเป็นโคมไฟระดับโลก ที่มีออร์เดอร์จากอเมริกากว่าสามร้อยชิ้น

    ปิ่น-ศรุตา เกียรติภาคภูมิ ศิลปินและนักออกแบบเจ้าของแบรนด์ Pin (พิน) จากทายาทรุ่นสอง ผู้เปลี่ยนเศษเหล็กในโรงงานของที่บ้านให้กลายเป็นโคมไฟระดับโลก บอกเล่าถึงเส้นทางนักธุรกิจหญิงไทยที่ถือว่าประสบความสำเร็จอยู่ในขณะนี้ ซึ่งใครจะเชื่อว่าก่อนหน้านี้เธอไม่ชอบสิ่งนี้เลย

 

Sponsored Ad

 

    “มันเกิดจุดที่ประสบความสำเร็จ คือ สำหรับเรามันเกิดสิ่งที่เราคาดฝันเอาไว้มากๆ เราไม่คิดเลยวันหนึ่งจากที่เรานั่งเล่นตุ๊กตาหลังโรงงาน คือ พยายามหาความสุขในโรงงานตอนนั้น รู้สึกว่าจากตุ๊กตาเล็กๆ ตัวนั้น มันกลายมาเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเลย”

 

Sponsored Ad

 

    “คือวันหนึ่งอยู่ๆ มันถูกขยาย ชีวิตมันถูกเปลี่ยน เพราะว่าทัศนคติตัวเอง ปิ่นเชื่อว่าปิ่นประสบความสำเร็จแล้ว ณ วันที่เราเปลี่ยนทัศนคติตัวเองได้ คือถ้าหากเราไม่พลิกวันนั้น ก็ไม่มีเราในวันนี้ ถ้าเราไม่พลิกความคิด ณ วันนั้น เราก็ยังจะจมอยู่กับ…ฉันอยู่หลังโรงงาน ฉันไม่มีความสุข ฉันเบื่อ ทำไมฉันจะต้องมาทนฟังเสียงเครื่องจักรแบบนี้ด้วย

    แต่วันหนึ่งเมื่อเปลี่ยนว่าเสียงเครื่องจักรเหล่านั้น มันคือเสียงหัวใจเราที่เต้น มันคือเสียงของคนงานที่เต้น มันคือเลือดเรา มันคือเสียงลมหายใจ ไม่งั้นก็จะไม่สนุกเลย”

 

Sponsored Ad

 

    ย้อนกลับไปการเติบโตในบ้านที่เป็นทั้งโรงงานเหล็กไม่ได้เป็นเรื่องที่สวยงามเลย ในทางกลับกันเสียงเครื่องจักร ทั้งงานปั๊ม งานพับ งานเชื่อม ที่ทำหน้าที่เป็นนาฬิกาปลุกเธอทุกเช้าให้แก่เธอ จนกระทั่งปิ่นได้มีโอกาสลงมือทำงานกับพ่อ เพื่อนำเศษเหล็กมาสร้างผลงานศิลปะ ในระหว่างเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยในวิชา Art Environment

    “คือมันเบื่อเสียง เสียงเครื่องจักรมันจะดังตลอดเวลา 8 โมงเช้า-5 โมงเย็น ก็ดังอยู่อย่างนั้น ก็เป็นเด็กอนุบาลไปเหยียบปั๊มเล่น แต่พ่อไม่ให้เล่น พ่อไม่ให้ยุ่ง แล้วเจอคนงานที่ชอบแกล้ง เรารู้สึกว่าเราไม่แฮปปี้กับที่นี่ แต่พอวันนึงมันเรียนศิลปะ มันทำให้เข้าใจถึงคุณค่า ความหมาย เพื่อจะเห็นความจริง เพื่อจะเห็นความดี ของที่ไม่ดีมีความดีอยู่ ของที่ดีมันก็มีของที่ไม่ดีอยู่ มันทำให้มองเห็นสัจธรรมของบางอย่าง การเรียนศิลปะมันทำให้เห็นความดี ความงาม ความจริง 3 อย่างนี้มันทำให้เกิดสุนทรียภาพ ทำให้เกิดสุนทรียศาสตร์ มันเลยทำให้เหมือนมองเห็นบางอย่าง มันเลยทำให้มองเห็นคุณค่าของคนงาน มันดูเหมือนดรามานะ แต่ว่ามันเป็นความจริง”

 

Sponsored Ad

 

    โดยปิ่นเป็นน้องสาวคนเล็กในจำนวน 3 พี่น้อง ของทายาทรุ่นสองในโรงงานเหล็กผู้รับผลิตลูกล้อ บานเลื่อน กุญแจ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ หลังจบการศึกษา เธอได้ตัดสินใจนำเศษชิ้นส่วนจากการผลิตในโรงงานเหล่านี้มาต่อยอดเป็นผลงานศิลปะสร้างมูลค่า จนกลายเป็นแบรนด์ของแต่งบ้านแบรนด์ดังที่ใครๆ ก็ต่างชื่นชอบ เพราะมีเอกลักษณ์ที่ต่างออกไปจากแบรนด์อื่นๆ

    “พอมองพี่คนงาน ปิ่นรู้สึกว่าฉันเป็นลูกสาวคนเล็กที่ทำไมชีวิตแฮปปี้ขนาดนี้ แล้วทำไมพี่คนงานเขาต้องอยู่ต่างจังหวัด แล้วกลับทำงานที่โรงงาน คือมันมองเห็นคนอื่น ว่า ทำไมเขาต้องมาทำงานในโรงงาน แต่เราอยู่โรงงานแท้ๆ พ่อแม่เลี้ยงดี ทำไมถึงไม่แฮปปี้ที่จะอยู่โรงงานนี้ คือมานั่งตกผลึกเอง มานั่งคิดตอนทำศิลปนิพนธ์มันมองเห็นชีวิตคนอื่น มันทำให้มองเห็นชีวิตตัวเอง การมองเห็นชีวิตคนอื่นมันเลยทำให้สะท้อนชีวิตตัวเอง พอมันสะท้อนชีวิตตัวเอง เรารู้สึกว่าฉันต้องทำให้มันดีกว่าที่มันเป็น”

 

Sponsored Ad

 

    จากเศษเหล็กที่โรงงานต้องนำไปขาย แต่เธอกลับเห็นคุณค่าและมองเป็นศิลปะ แน่นอนว่า ครั้งแรกที่เธอขอเศษเหล็กเหล่านั้นมาชุบชีวิต ไม่มีใครเห็นด้วย ซึ่งปิ่นต้องพิสูจน์ตัวเองกับพ่อ ด้วยการแสดงความตั้งใจที่จะทำให้เกิดผลผลิตจากเศษเหล็กจริงๆ ให้ได้

    “(พ่อ) เขาก็ช่างโรงงาน ช่างทำแม่พิมพ์โลหะ จบ ป.4 แล้วก็สู้ชีวิตเหมือนหนุ่มนักซุ้มในยุคนั้น ที่สู้ด้วยประสบการณ์ชีวิตตัวเอง สร้างโรงงานด้วยตัวเอง ตรงนี้ปิ่นน่าจะได้มาจากคุณพ่อ ด้านนักสู้ คือเขาทำในสิ่งที่เขาไม่เชื่อว่าเขาจะทำได้ เราก็ทำในสิ่งที่ไม่คิดว่าเราจะทำได้เหมือนกัน เพราะว่าตอนแรกป๊าก็ไม่เชื่อว่าเราจะทำเศษเหล็กได้ แต่เขาอนุญาตให้เราทำ เพราะเราคิดว่ามันไม่มีต้นทุน เราเองก็ขอทำด้วยว่า ขอเศษเหล็กกับคนงาน 1 คน

 

Sponsored Ad

 

    ตอนเราเรียนจบไม่ต้องให้เบี้ยเลี้ยงเรา ขอแค่เศษเหล็กกับคนงาน เพื่อที่จะหาอาชีพให้วเอง เขาก็อนุญาต เพราะมันอยู่ในโรงงาน มันเหมือนอยู่บ้านตัวเอง เขาก็แฮปปี้ ลูกไม่ต้องออกไปไหน ก็ทำไป ทำ จนมันเกิดจุดเชื่อมต่อในชีวิตของเราเอง ว่า ไปพัฒนากับหน่วยงานนั้น พัฒนากับหน่วยงานนี้ งานก็พัฒนาขึ้น จนกลายเป็นอาชีพ เราก็สู้ของเราเอง โดยที่เขาก็มองอยู่ห่างๆ”


แม้รูปแบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนไปบ้างนั้น ทุกอย่างยังคงคิดและผลิตจากเศษเหล็กอย่างบรรจง หลังโรงงานของผู้เป็นพ่อ ซึ่งเมื่อเดินเข้าไปหน้าโรงงาน จะเป็นพื้นที่ของพ่อ จะเห็นเขาทำอุปกรณ์ต่างๆ และเมื่อเหลือเศษเหล็กจากตรงนั้น ก็จะส่งไปด้านหลังโรงงานที่ซ้อนตัวอยู่เป็นพื้นที่ของนักสู้หญิงที่เป็นทายาทรุ่นที่สอง

“Pin Metal Art” ธุรกิจออกแบบและผลิตงานศิลปะประดับตกแต่งที่ทำจากเศษเหล็กเหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรม
“เศษเหล็ก”มาสร้างอัตลักษณ์ทางด้านวัสดุที่โดดเด่นจนได้รับรางวัลการันตีมานับไม่ถ้วนแล้วนั้น เธอยังบอกอีกว่าไม่เคยขอเงินจากทางครอบครัว เงินทุกบาทจากการลงมือชุบชีวิตเหล็กเหล่านี้ มาจากน้ำพักน้ำแรงของเธอทั้งสิ้น
“เขาก็ภูมิใจ อย่างล่าสุดที่กลับมาจากฝรั่งเศส เขาก็บอกว่า เขาภูมิใจที่ตั้งแต่เริ่มทำธุรกิจมาไม่เคยขอเงินเขาเลย
ปิ่นขอเศษเหล็กตลอด คือ เงินขอเล็กขอน้อยนิดหน่อย แต่ไม่เคยขอเงินไปลงทุน เราไม่เคยขอเงินไปลงทุน เพราะว่ายุคนั้นเป็นยุคที่เราเรียนจบ ยุคที่ขอเงินพ่อเงินแม่ไปเปิดร้านขายเสื้อสกรีน ที่จตุจักร แต่เราไม่เคยพาพ่อแม่ไปเปิดร้าน เราเห็นเพื่อนคนอื่นๆ หรือรุ่นพี่ไปเปิดร้านที่สวนจตุจักร เพื่อที่จะขายของ ขายเสื้อ คิด ทำลายสกรีนเอง

Sponsored Ad

    แต่เรารู้สึกว่าเราไม่ได้ถนัดทางนั้น เรารู้สึกว่าเราทำไม่ได้ เราเลยแบบไม่ไปสมัครงานด้วย เรารู้สึกว่าทำในสิ่งที่เราทำ อยู่ที่บ้านดีกว่าทุนน้อย ไม่ต้องไปขอเงินพ่อแม่เยอะ ป๊าเลยรู้สึกว่าเราไม่เคยขอเงินป๊ามาทำ ป๊าเขาพูดล่าสุด เราก็รู้สึกว่าที่เราทำมา แผนธุรกิจของเรา ได้เงินทุนมา เราก็คืนเขา รีเทิร์นให้เขาด้วยกับสิ่งที่เราทำ และเศษเหล็กต่างๆ ก็ไม่ได้ขอฟรี ซื้อต่อ ซื้อในราคาที่สูงกว่าเขาไปขายเศษเหล็กอีก”

    ทว่า ถ้าพูดถึงผลงาน เป็นตัวแทนคนไทยไปโชว์ผลงานศิลปะให้ทั่วโลกเขาได้เห็นกัน และถูกยอมรับว่าเธอเป็นนักธุรกิจน่าจับตามอง หนึ่งในนั้นคือการให้การสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการค้าต่างประเทศ

    “ครั้งแรกสนับสนุนโดยกรมสงเสริมการค้าระหว่างประเทศ 2014 ตอนนี้ 6 ปีแล้ว แต่ 3 ปีแรก เป็นเรื่องของการถูกคัดเลือกของกรมส่งออก แล้วยื่นไปทางฝรั่งเศสก็คัดเลือกอีกทีหนึ่ง เพื่อได้พื้นที่ได้ในการที่จะออกแฟร์ ตอนนั้นเป็นเหมือนกับ Young designer พอ 3 ปี หมดโควตาเราก็รู้สึกว่า เมื่อหมดโควตาเราคิดว่าเราจะดำเนินธุรกิจนี้ต่อไหม เราจะไปต่อไหม ไหนๆ แล้วเราก็ต้องไปให้สุด จึงทำการยื่นจองพื้นที่เอง ไปออกเอง

    คือเสียเงิน คือตั้งใจทำว่าเราจะเอาจริงกับธุรกิจนี้ พยายามที่จะทำให้ได้ แต่ว่าจริงๆ ประเทศไทยมีดีมาก บางทีเราไม่รู้ คือกรมต่างๆ หรือหน่วยงานรัฐภาคต่างๆ มีสิ่งที่สนับสนุนคนไทยตัวเล็กตัวน้อยเยอะมา แต่บางทีเราไม่รู้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เขาก็มีอีเมล เราก็เข้าไปศึกษา แล้วเขาจะมีเว็บไซต์ขึ้นตลอดเลยว่า มี support สนับสนุนอะไรบ้าง ปรากฏว่า เจอ SME Pro-active โครงการนี้เป็นโครงการที่สนับสนุน SME ซึ่งเราจดทะเบียนบริษัทมาแล้ว 3 ปี

    บทสรุปคือ เราได้พื้นที่ฟรีจากกรมสนับสนุน มีงบประมาณให้ ก็เอาผลงานของเราไปโชว์ ซึ่งเป็นเศษเหล็กนี่แหละ มันเป็นงานชินเล็กๆ เพราะว่าตอนนั้นเป็นพื้นที่เล็กๆ เป็นโคมไฟชิ้นเล็กๆ และมีเชิงเทียนชิ้นเล็กๆ มีกระจกเล็กๆ เมื่อไปทุกปี มันก็จะเปลี่ยนคอลเลกชันทุกปี เพื่อให้คนเห็นและจำได้ คือ ใช่หรือเปล่า เขาก็เดินมาใช่ๆ ไหม เราก็บอกว่าใช่ค่ะ บางทีการที่เราต้องไปบ่อยๆ ไปซ้ำ มันเป็นการทำให้เขาจำภาพลักษณ์ของแบรนดิ้งได้”

    ไม่เพียงการเดินสายแสดงดีไซน์แฟร์ระดับโลกอย่าง Maison&Objet ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถึง 4 ปีซ้อน รวมทั้งงานดีไซน์แฟร์ทั่วโลก ทั้งเดนมาร์ก อังกฤษ ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย แบรนด์ของเธอยังได้รับการยอมรับทั้งรางวัลด้านการออกแบบระดับประเทศแล้ว ยังได้รับยอดสั่งสินค้ามากมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศอีกด้วย

    “สำหรับลายเซ็นปิ่นมันน่าจะเป็นการนำชิ้นส่วนชิ้นเล็กๆ เอามาต่อเรียงร้อยเป็นชิ้นงานที่มันใหญ่ขึ้น คือ เมื่อก่อนคนอาจจะเห็นว่าตั้งใจทำลายนี้ขึ้นมาเลยหรือเปล่า เพราะว่ามันเป็นรีพีส เป็นการซ้ำๆ จนทุกคนคิดว่าตั้งใจไปเลเซอร์เอามาทำ ซึ่งอันนั้นเป็นสิ่งที่สิ้นเปลือง แต่ว่าเขาก็เข้ามาเห็นและเอาดีเทลเล็กๆ ตรงนี้เหมือนเป็นซิกเนเจอร์ของเรา หลักๆ ปิ่นไปฝรั่งเศส แต่งานได้ส่งไปโชว์ที่ออสเตรเลีย ส่งไปโชว์ที่ญี่ปุ่น คือ จะมี roadshow ของกรมส่งออก เราก็จะส่งสินค้าไปโชว์

    ถ้าจะพูดถึงรางวัลที่ได้รับของปิ่นมีเยอะมาก ไม่ใช่แค่ที่อินโดฯ จริงๆ แล้วที่ทำให้รู้สึกว่ามีพัฒนาขึ้นเลย ก็น่าจะเป็นตอนครั้งแรกคือ 2013 คือ รางวัลดีมาร์ก เพราะดีมาร์กคือดีมาก เป็นสินค้าที่ดีมากๆ คือ ได้รางวัลที่คณะกรรมการในระดับประเทศและที่ญี่ปุ่น หลังจากนั้น เริ่มมีงานเข้ามา พอประกวดปุ๊บแล้วมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น งานเราก็เหมือนผ่านตาคณะกรรมการ หลังจากนั้น มันก็ได้เป็น Designer of the year เป็นรุ่นเล็ก คือ เหมือนเป็นดีไซเนอร์รุ่นเล็ก ที่เป็นด้านโปรดักต์ดีไซน์ ปี 2015 รางวัลมันก็จำไม่ได้หรอกค่ะ มันไม่ได้เยอะ แต่ว่ามันจำไม่ได้ว่าสิ่งสำคัญอย่างที่ว่า การได้รางวัลมันเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าสิ่งสำคัญมันต้องรักษาคุณภาพที่เรามีอยู่อันนี้คือสิ่งสำคัญ

    เพราะว่าบางทีคนที่ได้รางวัล ณ วันนี้กับวันนั้น มันต่างกัน แต่อะไรยังทำให้เรายั่งยืนและดำเนินอยู่ต่อไป อันนี้คือสิ่งสำคัญมากกว่า” จากคนที่คิดลบต่องานที่บ้าน กลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเธอมาไกลมากๆ สิ่งหนึ่งที่ทำให้เธอมาถึงจุดนี้ คือทัศนคติที่ดี ส่งผลให้นักเรียนศิลปะอนาคตไกลเลือกทำงานกับที่บ้าน

    “ต้องมีความอดทน ใฝ่รู้ สร้างสรรค์เก่ง สำคัญคือทัศนคติมากกว่า สำคัญที่สุดคือทัศนคติต่อการดำเนินชีวิตของตัวเอง อันนี้คือสิ่งสำคัญ ถ้าหากเราไม่มีทัศนคติที่ดี ต่อสิ่งที่เราเป็น ชีวิตเราจะไม่มีความสุข แล้วเราจะทำงานสร้างสรรค์ไม่ได้ เราคิดแค่วิเคราะห์ตัวเราเอง อย่างวันนี้เราอารมณ์ไม่ดี อะไรก็ไม่ดีแล้ว ถ้าวันไหนสดชื่น เฟรช หรือทัศนคติเราดี วันนั้นก็จะดี

    อาจารย์ท่านหนึ่งบอกปิ่น ว่า การหาตัวตนให้พบ คือสิ่งที่ดี แต่สิ่งที่ดีกว่านั้นคือความภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองมี อันนี้คือสิ่งที่สำคัญ หากบางทีคนค้นพบแล้วตนเองคือใคร เป็นอะไร แต่ยังไม่ภูมิใจว่าฉันนี่แหละคือฉัน แล้วไม่ภูมิใจในสิ่งที่เรามี สิ่งที่เราเป็น มันก็จะไม่เฉิดฉาย

    คือ เราต้องสังเกตตัวเองกับจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ได้แบบนี้ ไม่ได้บอกว่าจะเป็นแบบปิ่น แต่เป็นของตัวเอง คือเป็นตัวของตัวเองในเวทีของตัวเอง อันนั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดมากกว่า”

ที่มา : readthecloud

บทความที่คุณอาจสนใจ