"รองเท้ารีไซเคิล" ทำมาจาก "ขยะ" ที่ใช้เวลาเก็บเพียง 3 เดือน ในเกาะแค่เกาะเดียวเท่านั้น

คอมเมนต์:

"ขยะ" ไม่ใช่ของไร้ค่าอีกต่อไปรองเท้าที่ทำจากขยะ ที่มาจากการใช้เวลาเก็บแค่ 3 เดือน ในเกาะเพียงเกาะเดียวเท่านั้น

หมายเหตุ : สามารถรับชมคลิปเต็มได้ที่ด้านล่างบทความค่ะ

        หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าที่จังหวัดปัตตานี มี “รองเท้ารีไซเคิล” ซึ่งเป็นรองเท้าที่ทำมาจากขยะ ที่ใช้เวลาเก็บขยะแค่ 3 เดือน ในเกาะแค่เกาะเดียว มันทำให้เข้าใจได้เลยว่า ในมหาสมุทรจะต้องมีขยะจำนวนมาก

        ในห้องโถงโล่งยาวมีเครื่องจักรและอุปกรณ์ขนาดใหญ่กระจายตัวทั่วไป ที่มุมห้องมุมหนึ่งมีถุงบรรจุชิ้นส่วนเล็กๆ ต่างสี “ดี”

 

Sponsored Ad

 

        ผู้ช่วยของ ดร.ณัฐพงษ์ นิธิอุทัย กอบวัสดุเหล่านั้นขึ้นมาให้ดูพร้อมกับบอกว่า มันคือเศษชิ้นส่วนของรองเท้าขยะที่ถูกนำมาบดเป็นชิ้นเล็กๆ ก่อนจะนำไปรีไซเคิล

        เขาโกยวัตถุดิบจากแต่ละกองผสมลงในกะละมังแล้วเอากาวที่ผสมเองราดลงไปก่อนจะคลุกเคล้าจนเข้ากันแล้วเอาเข้าเครื่องอัด

 

Sponsored Ad

 

        สิ่งที่ได้คือแผ่นวัสดุใหม่สีสันสดใสที่จะถูกนำไปตัดในรูปทรงของรองเท้าแตะ เมื่ออัดเข้ากับพื้นยางแล้วได้เป็นรองเท้ารีไซเคิลยี่ห้อ “ทะเลจร”

        ดร.ณัฐพงษ์ หรืออาจารย์อาร์ม แห่งคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ริเริ่มโปรเจกต์นี้บอกว่า รองเท้ารีไซเคิลสีสุดชิคนี้เป็นผลงานหลังจากการได้เห็นขยะในปริมาณมาก

 

Sponsored Ad

 

        เขาเริ่มต้นด้วยการไปขอขยะจากกลุ่ม trash hero ที่เก็บมาจากทะเล เขาได้รองเท้าขยะจำนวน 800,000 ตันที่มาจากการเก็บแค่ 3 เดือนในเกาะแค่เกาะเดียว

        มันทำให้เข้าใจไม่ยากว่าในมหาสมุทรจะต้องมีขยะจำนวนมาก ความรู้นี้ทำให้เขาคิดต้องรณรงค์เพื่อสื่อสารกับสังคม

 

Sponsored Ad

 

        ในตอนแรกเขาขอทุนจากองค์กรบางองค์กรเพื่อจะหาทางจัดการกับขยะที่ได้มามากมาย แต่เป็นเรื่องยากที่จะขายไอเดียเรื่องขยะในภาวะที่ผู้คนยังไม่ตระหนักเรื่องปัญหาขยะ สุดท้ายเขาตัดสินใจทำเอง แต่เรียกร้องการมีส่วนร่วมจากคนที่ทำงานด้วยมากขึ้น

        ในกระบวนการผลิตนั้นจึงมีคนหลายกลุ่มมีส่วนร่วมและสนับสนุนในสิ่งที่ตนทำได้ แม้แต่ผู้ผลิตพื้นรองเท้าก็ช่วยด้วยการผลิตให้ในราคาที่หาไม่ได้จากที่อื่น

 

Sponsored Ad

 

        และด้วยการผลิตที่ให้สัดส่วนวัสดุรีไซเคิลสูงเป็นพิเศษ มีกลุ่มผู้หญิงที่ช่วยตกแต่งในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้มีแพคเกจจิ้งที่สวยงามในถุงผ้าบาติก

        เขามีเป้าหมายคือกำไรเท่ากับศูนย์ เพียงแต่เงินที่ได้จากการขายต้องครอบคลุมต้นทุนในการรีไซเคิล ดังนั้นคนขายและคนผลิตจึงได้กันไปคนละครึ่ง

        นอกจากนี้อาจารย์อาร์มบอกว่าเขาพร้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ให้กับใครก็ตามที่อยากจะเรียนรู้ หรือแม้แต่คิดจะทำภายใต้แบรนด์เดียวกัน

ชมคลิป..

คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิ๊ก !!!! <<<

ข้อมูลและภาพจาก voicetv

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ