"แจ็ค หม่า" ย้ำ ! ให้พนง.หนุ่มสาว ควรทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน ลั่นถ้าไม่ทำตอนนี้ จะไปทำตอนไหน !?

คอมเมนต์:

"แจ็ค หม่า" ย้ำ ! ให้พนง.หนุ่มสาว ควรทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน ลั่นถ้าไม่ทำตอนนี้ จะไปทำตอนไหน !?

    เว็บไซต์ต่างประเทศ เดลีเมล์ รายงานว่า แจ๊ก หม่า ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อาลีบาบา และมหาเศรษฐีจีนผู้โด่งดังไปทั่วโลก กล่าวปกป้องวัฒนธรรมการทำงานหนัก ด้วยกำหนดสูตรระยะเวลาสำหรับพนักงาน “996” คือเริ่ม 9 เอเอ็ม (เก้าโมงเช้า) จบ 9 พีเอ็ม (สามทุ่ม) และทำให้ได้ 6 วันต่อสัปดาห์ ว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม

    แจ๊ก หม่า โพสต์ใน WeChat ของบริษัท เพื่อแจ้งพนักงานว่า การทำงาน 996 หรือ ตั้งแต่ 9.00-21.00 น. เป็นเวลา 6 วันต่อสัปดาห์  คิดเป็น 72 จาก 168 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นสิ่งที่ดีและน่าชื่นชม เพราะคนอื่นและบริษัทอื่นไม่มีโอกาสทำงานได้เช่นนี้

 

Sponsored Ad

 

    “ถ้าไม่ทำงาน 996 ในช่วงวัยหนุ่มสาวแล้ว จะไปทำตอนไหน” หม่ากล่าวพร้อมยกตัวอย่างตัวเองและพนักงานที่เริ่มก่อตั้งอาลีบาบาในปี 2542 มาด้วยกันต้องทำงานยาวนานเป็นประจำ ทุกคนต้องการความสำเร็จ ชีวิตที่ดีและมีคนเคารพนับถือ

 

Sponsored Ad

 

    โดยก่อนหน้านั้น แจ็ค หม่า ได้ให้คำแนะนำสำหรับคนหนุ่มสาวไว้ว่า “ถ้าคุณอายุ 20 ปี ให้สมัครงานกับบริษัทดีๆ สักแห่ง หาเจ้านายเก่งๆ และเรียนรู้การทำธุรกิจจากเขา เมื่ออายุ 30 ปี ให้ลองทำอะไรสักอย่างเป็นของตัวเอง เมื่ออายุ 40 ปี ให้ทำอะไรก็ได้ที่คุณถนัดและเชี่ยวชาญ และเมื่ออายุ 50 ปี ให้ใช้เวลากับคนหนุ่มสาวอายุน้อย มอบโอกาสให้พวกเขาในวันที่คุณยังแข็งแรง กระทั่งอายุ 60 ปี ให้ใช้เวลาพักผ่อนกับหลานๆ ของคุณบนชายหาด”

    ดังนั้น หนทางสู่ความสำเร็จสำหรับแจ๊ก หม่า คือ ทำงานเวลาให้มากขึ้นและใช้พลังงานหนักขึ้นกว่าคนอื่น เพื่อเป็นการเริ่มต้นที่ดีและเตรียมความพร้อมไว้สำหรับบั้นปลายชีวิต ขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีทุกวันนี้ มีคนตกงานหรือบางบริษัทต้องเผชิญกับการปิดตัว

 

Sponsored Ad

 

    แนวคิดนี้ทำให้พนักงานถกเถียงกันว่าจะมีข้อแลกเปลี่ยนกับการทำงานล่วงเวลาหรือโอทีที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้อย่างไรในบางบริษัท

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนนักกิจกรรมไมโครซอฟท์ GitHub เริ่มโครงการ “996.ICU” จัดอันดับให้อาลีบาบาเป็นหนึ่งในบริษัทต่างๆ ที่มีสภาพการทำงานย่ำแย่

    ด้านไชน่า เดลี สื่อทางการของจีนวิพากวิจารณ์ว่า 996 ละเมิดกฎหมายแรงงานของจีนที่กำหนดให้แรงงานทำงานไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เพราะเห็นว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ทำงานล่วงเวลามากเกินไปไม่ช่วยความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจและยังเป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ด้วย

ข้อมูลและภาพจาก khaosod

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ