"จานกาบหมาก" ธุรกิจรักษ์โลก แทนการใช้กล่องโฟมลดโลกร้อน ผลิตเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย !!

คอมเมนต์:

ไอเดียสุดเจ๋ง "จานกาบหมาก" ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ออร์เดอร์ทะลัก ผลิตไม่เคยพอขาย

    โดยวันนี้เราจะพาทุกคนนั้นไปชมกับอีกหนึ่งไอเดียเก๋ที่บอกเลยว่าสามารถสร้างสรรค์ช่วยลดโลกร้อนอีกทั้งยังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นก็คือใบกาบหมากนั่นเองบอกเลยว่าเป็นสิ่งที่ใครหลายคนนั้นไม่สนใจแต่มันก็สามารถสร้างมูลค่าได้มากมายเลยทีเดียว

    โดยจุดเริ่มต้นมาจากการที่คุณสุมาลี ภิญโญผู้ที่ริเริ่มทำจานกาบหมากก็ได้มีการเปิดเผยว่าในช่วงปี 2539 ก็ได้รับมอบหมายให้จัดงานเลี้ยงอาหารขันโตกที่อำเภอเนินสูง จังหวัดนครราชสีมาโดยมีงานประเพณีภาคอีสานซึ่ งก็จะมีการกินอาหารกันในช่วงภาคค่ำ 

 

Sponsored Ad

 


    โดยในสมัยนั้นภาชนะต่างๆก็จะเป็นโฟม ซึ่งสวนทางกับตีมงานเป็นอย่างมากที่มีความย้อนยุคทั้งโทรมยังมีเป็นขยะที่กำจัดได้ยากต่อมาก็มีการเปลี่ยนใช้เป็นกระทงและใบตอง แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้ก็สามารถใส่อาหารได้น้อย ยิ่งอาหารที่มีน้ำก็รั่วและฉีกขาดง่าย โดยในตอนนั้นยังหาแนวทางไม่ออก จนกระทั่งได้มาพบกับใบกาบหมากจากต้นหมากจึงได้นำมาทดลองขึ้นเป็นรูปจานชามปรากฏว่าใส่อาหารได้ทุกชนิดจากนั้นก็มีการต่อยอดขึ้นมาจนเกิดกลายเป็นธุรกิจของตัวเอง

    โดยคุณสุมาลีนั้นได้พบเจอใบกาบหมากตามพื้นที่ ที่ร่วงอยู่ตามปก ติโดยส่วนใหญ่นั้นชาวสวนก็จะนำไปเผาเพื่อทำลายแต่ก็ได้สังเกตว่าใบลักษณะนี้มีแข็งก็เลยให้สามีที่เป็นช่างลองขึ้นรูปเป็นจานปรากฏว่า สามารถใส่อาหารร้อนเย็นได้เป็นอย่างดีอีกทั้งที่ใส่น้ำไม่รั่ว เข้าไมโครเวฟ ก็ได้ก็เลยทำขายเลยตั้งแต่นั้นในปี 2540 ก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งในปี 2547 ก็ได้มีการส่งสินค้าของตัวเองเข้าเป็นประกวดสินค้า OTOP จนสามารถได้ 4 ดาวโดยปีการขายงานโอทอปต่างๆ ซึ่งบอกเลยว่าสามารถขายได้ดิบได้ดี สินค้านั้นแทบจะไม่พอขายถึงขั้นต้องทำตามออเดอร์กันเลยทีเดียว

    “ย่านอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ชาวบ้านปลูกต้นหมากกันมาก ส่วนใหญ่จะเก็บแต่ลูกหมากไปเคี้ยว กาบหมากหรือใบมักจะถูกทิ้ง หรือนำไปเผา ดิฉันนำมาทดลองทำภาชนะ โดยคิดค้นเครื่องจักรปั๊มขึ้นรูป โดยใช้ความร้อน สามารถผลิตกาบหมากออกมาเป็นภาชนะรูปแบบต่างๆ”

    ด้วยตั้งแต่นั้นมาจานกาบหมากของคุณสุมาลีนั้นก็เป็นรู้จักกันมากขึ้นอีกทั้งยังมีการตั้งชื่อแบรนด์ว่า‘วีรษา’ (VEERASA) ชื่อนี้มาจากชื่อของคุณปู่ และคุณย่า รวมกัน “วีระ+อุษา”นั่นเองโดยจานกาบหมาก นี้มีขายมานานตั้งแต่ปี 47 แต่ก็เพิ่งเป็นรู้จักในปี 60 โดยอาศัยจัดการออกบูธอย่างสม่ำเสมอและมีลูกค้าบอกกันแบบต่อปากต่อ ถึงขนาดมีลูกค้าชาวต่างชาติบินมาสั่งที่โรงงานเลยก็มีเช่นจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์หรือประเทศอังกฤษ

 

Sponsored Ad

 

    โดยจุดเด่นของภาชนะนี้ก็คือมาจากธรรมชาติ 100% ปราศจากสารเคมีและไม่มีการฟอกสี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก อีกทั้งไม่แตกหักง่ายน้ำหนักเบาใส่อาหารและมนูได้ทุกชนิดสามารถเข้าเวฟได้ไม่อ่อนตัวทนความร้อนได้เป็นอย่างดีมีกลิ่นหอมและยังมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์อีกด้วยทั้งสามารถย่อยสลายเองได้ภายใน 40-45 วันเท่านั้น

    ซึ่งวัสดุที่คุณสุมาลีในการใช้นั้นส่วนหนึ่งเธอก็ปลูกเองแต่อีกส่วนหนึ่งก็รับมาจากชาวเกษตรกรหรือจะรับในราคากิโลกรัมละ 8 บาทเพราะว่าวัสดุในการทำของส่วนตัวเองนะไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงส่งเสริมให้ชาวเกษตรมีการปลูกต้นหมากกันมากยิ่งขึ้น โดยจะรับซื้อทั้งหมดและดำเนินการแล้วที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง โดยพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เนื้อสามารถปลูกต้นหมากได้ประมาณ 1,000 ต้นอีกทั้งยังมีการยกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งการเรียนรู้ว่าสำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วยค่ะ

    นอกจากคุณสุมาลีแล้วยังมีคุณหวานอีกคนหนึ่ง หรือ คุณจันทิมา พิพิธสุนทร วัย 29 ปีได้มีการแปรรูปจากใบกาบหมากเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยตัวเธอนั้นเรียนจบสาขาชีวเคมีคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมีแนวคิดเริ่มต้นในการที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกทั้งยังช่วยในการคัดแยกขยะซึ่งก็ได้มีการทำมาตั้งแต่ 2011 โดยมีการสนับสนุนจาก บริติชเคาท์ซิล

    “เราเห็นปัญหาขยะที่เกิดขึ้นในบ้านเรา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เราทำกิจกรรมนี้ ซึ่งมองว่า ไม่ใช่มีแต่พลาสติกเท่านั้นที่เราสามารถนำมาใช้ได้ แต่มีวัสดุอีกมากมาย ที่นำมาใช้ได้ บางอย่างผ่านภูมิปัญญามาอย่างยาวนาน โดยก่อนหน้านี้ เราหาวัสดุหลากหลาย แต่พบว่ากาบหมากมีความเหมาะสมที่สุด เนื่องจาก ที่เราไปดูองค์ความรู้ ก็มีการนำไปห่อข้าว ก็มีความคงทน ก็ขึ้นรูปได้เลย แต่ถ้าเป็นใบตอง อาจจะซ้อนกันหลายใบ และผ่านหลายขั้นตอน”

    โดยนัยตรงนี้ก็ทำให้คุณหวานั้นหาวัสดุยังไหนก็ตามมาทำโดยจะต้องเป็นวัสดุที่ทำได้ง่ายและไม่ผ่านขั้นตอนหลากหลายมากเกินไปโดยกาบหมากนั้นถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยแล้วยังขึ้นรูปด้วยความร้อน 100 ถึง 200 องศาเซลเซียสก็สามารถใช้ได้และเธอนั้นก็พยายามรักษาความสวยงามและคงความเป็นธรรมชาติอีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งในปัจจุบันภาชนะจากกาบหมากก็ได้มีการทำในเชิงการค้าและมีโรงงานการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้นโดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นโรงแรมและร้านค้าที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์องค์กรในเรื่องของทางด้านสิ่งแวดล้อมโดยแม้ว่าจานกาบหมากจะมีราคาแพงมากกว่าโฟมหรือพลาสติก 7-8 เท่าแต่นั่นก็เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

    ซึ่งหากใครสนใจนั้นก็สามารถไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.begreeningware.com หรือที่ เฟซบุ๊ก Begreeningกันได้เลยค่ะ

ข้อมูลและภาพจาก begreeningware, siamtodaynews, sentangsedtee

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ