สื่อนอกเผยพฤติกรรมเด็กที่ชอบ "งอแง" ไม่ควรปลอบ แต่ควรปล่อยให้ร้องไป

คอมเมนต์:

เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไปสามารถรับรู้และเข้าใจได้แล้ว!

    ปัจจุบันมีผู้หญิงหลายคนที่ไม่อยากมีลูก เนื่องจากการเลี้ยงลูกนั้นเป็นภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มาก และเป็นอาชีพที่ไม่มีวันหยุด เป็นแล้วต้องเป็นไปตลอดชีวิต ทำให้บรรดาสาวๆหลายคนคิดหนักหากจะมีลูก กลัวว่าจะเลี้ยงลูกได้ไม่ดีพอ หรือไม่ก็กลัวลูกจะเป็นอย่างนั้น อย่างนี้

 

    วันนี้แอดมิน จะมาบอกเคล็ดลับว่า ทำไม 8 พฤติกรรมที่น่ารำคาญสุด ๆ ของเด็กที่ปรากฏขึ้นนั้นจะมีวิธีแก้ไขและรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ยังไง (รับรองว่าดูแล้วจะเปลี่ยนทัศนคติไปเลย) 

 

Sponsored Ad

 

 

    1. เมื่อเด็กๆ มักชอบพูดคำว่า “ไม่” 

     เมื่อใดก็ตามที่เด็กๆ เริ่มพูดคำว่า “ไม่” นั้นแสดงให้เห็นว่า เด็กเริ่มมีความคิดเป็นของตนเองแล้ว ซึ่งพฤติกรรมนี้มักเกิดขึ้น เมื่อเด็กอายุ 2.5 ถึง 3 ปี นี้เป็นเวลาที่พวกเขาเริ่มเข้าใจแล้วว่าตนเองคือ มนุษย์ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของแม่ พวกเขาพยายามที่จะเปิดสถานะ จุดยืนของตัวเองในครอบครัว 

    เมื่อคุณแม่เผชิญกับปัญหานี้จะทำอย่างไรดีล่ะ? ต้องมีความอดทนสูง อย่าใช้อารมณ์ในการระงับการต่อต้านหรือปฏิเสธของลูก ปล่อยให้พวกเขาตัดสินใจอย่างอิสระ เพื่อให้พวกเขาเริ่มรู้จักพึ่งพาตนเอง เช่น ปล่อยให้ลูกตัดสินใจว่าวันนี้จะสวมใส่เสื้อผ้าชุดไหน วิธีนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดี ข้อดีคือ ทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

 

Sponsored Ad

 

 

    2. ถามคำถามเดิม ๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก

    ทำไมเด็ก ๆ จึงมักถามคำถามเดียวกันหลายครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก อยากให้รู้ว่านี้เป็นวิธีการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับเด็กๆ และทำให้เด็กๆ สามารถจดจำวิธีใช้คำศัพท์และความหมายที่แฝงอยู่ในประโยคนั้นๆ  

    ฉะนั้นในฐานะผู้ปกครองควรทำอย่างไรดี? จำไว้ว่าการทำซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นขั้นตอนที่จำเป็นในการพูดอย่างเชี่ยวชาญ ควรกระตุ้นลูกของคุณด้วยการพูดคุยกับพวกเขาให้มากขึ้น และถ้าคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ มันจะทำให้เกิดปัญหาในภายหลัง จงจำไว้ว่าสถานการณ์แบบนี้จะหมดไปในไม่ช้า แต่การพูดทำร้ายจิตใจลูกจะทำให้ลูกได้รับบาดแผลและลูกจดจำไปตลอดชีวิต 

 

Sponsored Ad

 

 

    3. ชอบตื่นมากลางดึก

    เด็กๆ ที่ชอบตื่นมากลางดึก หรือไม่ยอมหลับยอมนอนจะสร้างปัญหาที่หนักหน่วงแก่ผู้ปกครองอย่างมาก แล้วอะไรทำให้เด็กเป็นเช่นนั้นล่ะ? ปัญหาการนอนหลับของเด็กมักได้รับผลกระทบจากอารมณ์ในระหว่างวัน ทำให้เด็กอาจไม่อยากนอน เพราะเกิดภาวะอารมณ์รุนแรงในตอนกลางคืน และในบางครั้งการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาจทำให้พวกเขาตื่นเต้นมากจนเกินไป 

    แล้วควรทำอย่างไรดีล่ะ? ก่อนอื่นให้ผู้ปกครองวางแผนใหม่ของตลอดทั้งวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้เขาตื่นเต้นเกินไป แต่ถ้าหากเด็กๆ ยังคงมีอาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน ผู้ปกครองก็อย่าเพิ่งหมดความอดทนนะคะ ค่อย ๆ เผชิญกับเหตุการณ์เหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน  รับรองว่าอาการของเด็กๆ เหล่านี้จะค่อย ๆ สงบและหายไปเอง พอผ่านช่วงนี้ไปแล้วพวกเขาก็จะเข้านอนตามปกติเอง

 

Sponsored Ad

 

 

    4. ไม่เชื่อฟังคำของพ่อแม่

    ทำไมเด็กๆ เริ่มมีการโต้เถียง? นักจิตวิทยา John Gottman ชาวอเมริกันเปิดเผยว่า การละเล่นเป็นวิธีหลักที่เด็ก ๆ จะได้สำรวจโลก หากเด็กๆ เต็มไปด้วยพลังงานและไม่เต็มใจทำในสิ่งที่คุณต้องการให้เขาทำ คุณไม่ควรตำหนิพวกเขา แต่ให้พิจารณากำหนดรายการของแต่ละวันใหม่ เช่น อาจต้องตื่นมาแต่เช้าเพื่อเล่นเป็นเพื่อนกับพวกเขา แต่ทว่าจงจำไว้ให้ดีต้องให้พวกเขาเล่นอย่างน้อย 15-20 นาที 

 

 

Sponsored Ad

 

    5. ร้องไห้อย่างไม่มีเหตุผล

     หากวันนี้อนุญาตให้เด็กๆ ดูทีวี แต่วันพรุ่งนี้กลับไม่ให้ดู ในเวลานี้จะมีเด็กๆ หลายคนเริ่มร้องไห้ ทั้งนี้เด็กๆ สามารถจดจำกฎกติกาได้  แต่พวกเขาเองจะไม่เข้าใจว่าทำไมมันถึงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นการไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของพวกเขาจะทำให้พวกเขาผิดหวัง 

    แล้วแบบนี้ควรทำอย่างไรดีล่ะ? ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อจำกัด แต่อย่าเปลี่ยนกฎตลอดเวลาเพราะคิดว่าคุณแข็งแกร่ง และตัวโตกว่าเขา แต่แนะนำให้คุณตั้งกฎกติกาให้แน่ชัด จากนั้นก็อธิบายให้เขาฟังอย่างละเอียดและเข้าใจ ต่อด้วยปฏิบัติตาม

 

Sponsored Ad

 

 

    6. ขว้างปาสิ่งของ

    ทำไมเด็ก ๆ บางคนจึงชอบขว้างปาสิ่งของ? เด็กเล็กมักมีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและไม่สามารถควบคุมได้ นั้นเป็นเพราะสมองของพวกเขายังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ในความเป็นจริงการขว้างปาสิ่งของยังสามารถพัฒนาทักษะการประสานงานระหว่างมือและตา และอีกประการคือ เมื่อเด็ก ๆ ขว้างปาสิ่งของพวกเขาสามารถเรียนรู้ผลแห่งการกระทำ (เช่น ถ้าหากขว้างทิ้งมันไปมันจะล่วงตกลงมา) 

    แล้วแบบนี้คุณควรทำอย่างไรดีล่ะ? คุณสามารถอธิบายให้เขาฟังว่า สิ่งไหนขว้างปาได้ สิ่งไหนไม่ได้ โดยทั่วไปแล้วเด็กอายุ 2 ขวบสามารถเข้าใจได้แล้ว

Sponsored Ad

    7. ไม่อยากกินของบางอย่าง

    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเด็กแบ่งสาเหตุของการที่เด็กไม่ชอบกินอาหารบางชนิดออกเป็นประเภทต่างๆ คือ เหนื่อยล้า ฟันขึ้น อยากเล่นจนไม่อยากกิน แต่จากงานวิจัยพบว่า แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเมื่อเด็กๆ ต้องเผชิญกับอาหารใหม่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อความอยากอาหารของเด็กได้ ทารกค่อนข้างอ่อนโยนและอนุรักษนิยม อาหารที่พวกเขาไม่เคยกินมาก่อนจะทำให้พวกเขากลัวและตกใจ และหากผู้ปกครองยืนยันจะป้อนหรือบังคับให้กิน อาจทำให้สถานการณ์แย่ลง

    แล้วควรทำอย่างไรดี? หากเด็กๆ ไม่ยินยอมที่จะกิน ก็ไม่ต้องบังคับ เด็กอายุ 2 ขวบสามารถเข้าใจได้ดีว่าตนเองอิ่มหรือยัง? 

    8.การมีพฤติกรรมอารมณ์แปรปรวนต่อเนื่อง จนควบคุมตนเองไม่ได้

    การที่เด็กๆ มักมีพฤติกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่องนั้น อาจส่งผลมาจาก ความเหนื่อยล้า ภาวะทางอารมณ์ ความหิว และระบบประสาทของเด็กที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่าเต็มที่ ดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ 

    แล้วควรทำอย่างไรดี? คุณสามารถลองพูดคุยเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กๆ หรือพยายามพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่น่าสนใจเพื่อให้เด็กๆ รู้สึกสนใจมากขึ้น ในบางครั้งก็ควรให้เด็กสงบสติอารมณ์ด้วยการปล่อยให้เด็กร้องไห้คนเดียว แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ ไม่แนะนำอย่างยิ่งที่จะยอมถอยก้าวให้เด็กๆ  

ที่มา : hellol | เรียบเรียงโดย LIEKR

บทความที่คุณอาจสนใจ