จนท. วอนมนุษย์ตัดสายรัดหน้ากากอนามัยก่อนทิ้งทุกครั้ง เพราะมันกำลังสร้างความเดือดร้อนให้กับสัตว์โลก

คอมเมนต์:

แม้ว่าหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง จะมีดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์ปลอดภัย แต่มันกลับเป็นอันตรายต่อสัตว์โลก

    หน้ากากอนามัยถือเป็นสิ่งที่จำเป็นและขนาดไม่ได้เลยในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่คุณรู้ไม่ว่าบางครั้งหน้ากากอนามัยที่เราใช้แล้วทิ้ง ได้สร้างขยะจำนวนมาก ที่เป็นมลพิษให้กับโลกของเรา อีกทั้งยังสร้างความเดือดร้อนให้กับเหล่าสัตว์โลกจำนวนมาก หลายตัวต้องจบชีวิตอย่างน่าเศร้าเพราะหน้ากากอนามัย

    จากข้อมูลของ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ(UN Environment Programme) ได้ระบุว่า มีพลาสติกจำนวนมากถูกทิ้งลงมหาสมุทร ซึ่งทุก ๆ ปี จะมีขยะถูกทิ้งมากถึง 8 ล้านตัน และขยะเหล่านี้สามารถฆ่าสัตว์ทะเลหลายพันตัวต่อปี โดยที่คุณคาดไม่ถึงอีกด้วยด้วย และด้วยการเพิ่มขึ้นของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแบบใช้ครั้งเดียว (PPE) หรือ หน้ากากอนามัย ในปัจจุบันก็ยิ่งทำให้สถานการณ์ดังกล่าวเลวร้ายลงไปอีก

 

Sponsored Ad

 

    แม้ว่าหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง จะมีดมุ่งหมายเพื่อให้มนุษย์ปลอดภัย แต่มันกลับเป็นอันตรายต่อสัตว์โลก

 

Sponsored Ad

 

    อย่างเช่นเมื่อเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา สื่อรายงานมีพลเมืองดีพบนกนางนวลในประเทศอังกฤษถูกสายรัดหน้ากากอนามัยพันรอบขาอย่างแน่นหนา บินไปไหนไม่ได้ โชคดีที่มีคนมาเจอซะก่อน ต่อมาเจ้าหน้าที่ของราชสมาคมป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ประเทศอังกฤษ (Royal Society for the Prevention of Cruelty to Animals) หรือ RSPCA ได้เข้าช่วยเหลือนกนางนวลโชคร้ายตัวนี้ ก่อนจะปล่อยมันกลับคืนสู่ธรรมชาติ

    ด้านสมาคมป้องกันการทารุณกรรมต่อสัตว์ ก็ได้ออกมาประกาศ ขอความร่วมมือจากประชาชนให้ตัดสายรัดหน้ากากอนามัยก่อนทิ้งทุกครั้ง เพื่อไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับเหล่าสัตว์ป่า

 

Sponsored Ad

 

    คริส เชอร์วู๊ด (Chris Sherwood) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ RSPCA กล่าวว่า "ที่ผ่านมามีสัตว์ป่าต้องติดอยู่กับสายรัดของหน้ากากอนามัยกว่า 900 เคสแล้ว"

    แม้ว่าพวกเขาจะให้ความช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ติดอยู่กับสายรัดหน้ากากอนามัยที่ทิ้งอยู่ตลอด แต่คาดว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่แก้ที่ต้นเหตุ ซึ่งถ้าหากมนุษย์เราทิ้งหน้ากากอย่างถูกวิธี โดยการตัดสายรัดทั้งสองข้างออกก่อนจะทิ้งลงในถังขยะ เหตุการณ์เหล่านี้ก็คงมีโอกาสลดลง 

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้ นักสิ่งแวดล้อม ได้เผยว่า หน้ากากอนามัยและถุงมือแบบใช้ครั้งเดียว เป็นขยะมลพิษรูปแบบใหม่ ปัจจุบันมันกำลังถูกทิ้งโดยไร้วิธีการจัดการ 

    จากการศึกษาของศูนย์นวัตกรรมขยะพลาสติกของมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (University College London Plastic Waste Innovation Hub) ประเมินว่า หากคุณใช้หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง 1 ชิ้นต่อวันเป็นเวลา 1 ปี จะทำให้เกิดขยะปนเปื้อนเพิ่มขึ้นอีก 66,000 ตันและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ห่อหุ้มอีกกว่า 57,000 ตัน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงการประเมินในกรอบกิจกรรมที่เกิดขึ้นภายในประเทศอังกฤษเพียงประเทศเดียวเท่านั้น (แล้วทั้งโลกล่ะ จะปริมาณมากแค่ไหน?)

 

Sponsored Ad

 

    Opration Mer Propre องค์กรการกุศลด้านสิ่งแวดล้อมของฝรั่งเศสกล่าวว่า "เร็ว ๆ นี้น่าจะมีหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งมากกว่าแมงกะพรุนในน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน"

 

Sponsored Ad

 

    RSPCA เรียกร้องให้ผู้คนช่วยกันปกป้องเหล่าสัตว์และสิ่งแวดล้อมด้วยการรีไซเคิลขวดพลาสติก กระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์ให้มากขึ้น รวมถึงหันมาใช้หน้ากากอนามัยที่มีมาตรฐานสามารถใช้ซ้ำได้

//กร็ดความรู้//

Sponsored Ad

วิธีการกำจัดหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง

    องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้ทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในถังขยะที่แยกเอาไว้เป็นพิเศษ ไม่ทิ้งรวมกับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ เช่น กระป๋อง กระดาษหรือขยะอินทรีย์อื่น ๆ และที่สำคัญต้องไม่ทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ ในครัวเรือน


คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีกำจัดหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างถูกต้อง 

    - ควรทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้วลงในถุงพลาสติกขนาดเล็กมัดปากให้แน่นหนาจากนั้นจึงนำไปทิ้งลงถังขยะ หากกรณีที่หน้ากากอนามัยสัมผัสกับผู้ติดเชื้อให้ระมัดระวังมากเป็นพิเศษก่อนทิ้ง โดยการทิ้งในถุงพลาสติกสองชั้นมัดปากให้แน่นหนาจากนั้นจึงนำไปทิ้งลงถังขยะและควรเขียนกำกับบนถุงด้วยว่า ขยะติดเชื้อ

ที่มา : The Animal Rescue Site, dogsclip, Iberdrola 

บทความที่คุณอาจสนใจ