หนุ่มเพิ่งรู้สาเหตุที่ "ลูกนกฮูกนอนคว่ำหน้า" เพราะเป็นท่าที่สบายที่สุด

คอมเมนต์:

เพิ่งรู้ว่าที่ไทยของเราก็เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ 5555

    เรียกได้ว่าเป็นภาพที่ใครเห็นก็ต้องคิดเป็นแบบเดียวกันว่า เจ้านกฮูกตัวนี้คงตายไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง มันก็แค่กลับไปเท่านั้น 

    

    หลายคนเคยชินกับการได้เห็นว่านกฮูกยืนหลับ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าลูกนกฮูก นอนหลับด้วยวิธีการนอนคว่ำ

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งเหตุผลที่ลูกนกฮูกตัวนี้นอนคว่ำแบบนี้ก็เป็นเพราะ "หัวของมันหนักจนเกินไป" ขนาดหัวที่ใหญ่และมีน้ำหนักมาก ทำให้พวกมันไม่สามารถแบกหัวแล้วยืนหลับได้เหมือนกับนกที่โตเต็มวัยนั่นเอง

    

    แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกตัวจะนอนแล้วเหมือนตายแบบในรูป เพราะในบางครั้งพวกมันก็จะหันหน้าออกด้านข้าง

 

Sponsored Ad

 

    ด้าน Mark Rees นักเขียนชาวเวลส์ผู้โพสต์ภาพนี้ลงบนทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า "ผมเพิ่งค้นพบว่าลูกนกฮูกจะนอนคว่ำหน้าในลักษณะนี้ เพราะว่าหัวของมันหนักจนเกินไป นอกจากนี้ผมก็คิดว่าผมไม่น่าจะเคยเห็นขาของพวกมันมาก่อนด้วย"

    ซึ่งในประเทศไทยของเราเองก็เคยเจอเหตุการณ์คล้ายกับแบบนี้ โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก Kanwachara Ch ที่หนุ่มนักศึกษาบังเอิญเจอน้องนกฮูกตัวหนึ่งนอนหน้าจุ่มดินอยู่หน้ามหาวิทยาลัยของตนเอง ก่อนจะรีบพาไปหาหมอ แต่สุดท้ายก็พบว่า น้องแค่หลับไปเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

แสงสว่างจ้า ลืมตาไม่ขึ้น

 

    ย้อนกลับไปในปี 2019 ภาพของลูกนกฮูกที่กำลังนอนหลับคว่ำหน้านั้นเคยเป็นกระแสมาก่อนแล้ว  และก่อนหน้านี้นักวิจัยทางด้านธรรมชาติอีกคนหนึ่งก็เคยอธิบายไว้ว่า ที่ลูกนกฮูกทิ้งตัวลงไปนอนคว่ำนั้นมันเกิดขึ้นจริงๆ เนื่องจากศีรษะของมันนั้นหนักจนเกินไป ทำให้พักผ่อนได้ลำบาก จึงจำเป็นต้องหลับในท่านี้

    

 

Sponsored Ad

 

    นอกจากนี้พอดแคสต์ที่ชื่อว่า BirdNote ของกลุ่มอนุรักษ์ National Audubon Society ก็เคยกล่าวไว้ว่า โดยปกติแล้วนกฮูกที่ยังไม่โตเต็มวัยก็มักจะนอนหลับในท่านี้กันเป็นเรื่องปกติ

    

    บางครั้งพวกมันก็ไม่ได้ถึงกับคว่ำหน้าลงกับพื้น แต่อยู่ในลักษณะของการนอนคว่ำแล้วเอียงหน้ามาทางด้านข้าง เพื่อการพักผ่อนให้ได้เต็มที่ ไม่ให้รู้สึกลำบากกับน้ำหนักของหัว ใช้ขาเกี่ยวเอาไว้ทำให้ไม่ตกจากต้นไม้

    "เนื่องจากพวกมันหลับไม่นาน จึงต้องเลือกนอนในท่าที่สบายที่สุด และไม่ชอบโดนปลุกแม้เป็นเวลาที่แม่นกจะป้อนอาหารก็ตาม"

ที่มา : IFL Science , Audubon , Unilad,  catdumb, Kanwachara Ch

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ