นักวิทย์ค้นพบ "ยีราฟแคระ" ที่น่ารัก 2 ตัว ถูกพบในธรรมชาติเป็นครั้งแรก 6 ปีผ่านไปยังตัวเท่าเดิม

คอมเมนต์:

ตอนแรกนึกว่าเป็นลูกยีราฟ แต่น้องเป็นยีราฟทีโตเต็มที่แล้ว

    หลายคนคงเคยเห็นสัตว์ตัวแคระมาแล้วอย่างมากมาย แต่จะมีกี่คนที่เคยเห็น “ยีราฟแคระ” กันนะ... และนี่เป็นครั้งแรกที่ถูกค้นพบในฝูงตามธรรมชาติ

    การพบนีราฟแคระในครั้งนี้ เกิดขึ้นในปี 2014 ตอนที่นักวิจัยได้เข้าไปสำรวจประชากรยีราฟในอุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่งในประเทศยูกันดา และได้พบกับยีราฟขาสั้นตัวหนึ่ง หลังจากนั้นพวกเขาก็ได้ไปสำรวจที่ประเทศนาบีเมีย และก็พบยีราฟที่มีลักษณะแบบนั้นอีกตัว

ยีราฟแคระที่ยูกันดา

 

Sponsored Ad

 

    โดยปกติยีราฟตัวโตเต็มวัย มักจะมีความสูงอยู่ที่ 4.3-6.1 เมตร โดยตัวผู้จะสูงกว่าตัวเมีย และตัวผู้มีน้ำหนักถึง 1200 กิโลกรัม และตัวเมียจะแค่เพียงแค่ 830 กิโลกรัมเท่านั้น แต่เจ้ายีราฟที่นักวิจัยได้เจอในครั้งนี้พบว่า สูงแค่ 2.5.-2.8 เมตร เท่านั้นเอง แถมยังมีคอยาวกว่ายีราฟทั่วไปเล็กน้อย เพื่อทดแทนความยาวของขาที่หายไป... 

ยีราฟแคระที่นามีเบีย

    คุณบราวน์ ได้บอกว่า ตอนที่พบมันครั้งแรก แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเลย เพราะตอนแรกคิดว่าเป็นลูกยีราฟที่ยังไม่โต ปกติลูกยีราฟจะโตเต็มที่ในช่วง 3-6 ปี แต่หลายปีผ่านไปตัวมันก็ยังเท่าเดิม 

 

Sponsored Ad

 

    ตัวเขาเองก็บอกไม่ได้ว่า สาเหตุเกิดจากอะไร ทำไมมันถึงมีขาแบบนั้น แต่คิดว่าน่าจะเกิดจากโรคกระดูกเจริญผิดปกติ และถือว่าเป็นยีราฟแคระที่ถูกพบเป็นครั้งแรกในธรรมชาติอีกด้วย

 

Sponsored Ad

 

    หลายคนสงสัยว่าเราสามารถวัดความสูงของยีราฟได้ยังไง เพราะเราไม่สามารถเข้าใกล้สัตว์พวกนี้ได้เลย ด้วยเหตุนี้มนุษย์เราได้คิดค้นวิธีวัดความสูงที่พัฒนามาจากการวัดความสูงช้างที่เรียกว่า Photogrammetry เทคนิคนี้มีการใช้เครื่องวัดระยะเลเซอร์เพื่อวัดระยะห่างระหว่างวัตถุต่าง ๆ จากนั้นก็ใช้การวัดระยะห่างระหว่างพิกเซลดิจิทัลในภาพถ่ายเพื่อนำมาเปรียบเทียบกันกับของจริง ซึ่งจะทำให้เราวัดความสูงของยีราฟได้อย่างแม่นยำ

ยีราฟแคระที่นามีเบีย เทียบขนาดกับยีราฟปกติ

    สิ่งที่น่าสนใจในครั้งนี้ก็คือ ยีราฟแคระในยูกันดามีความยาวคอสูงกว่ายีราฟปกติ แม้ว่าขามันจะสั้นลงก็ตาม ส่วนยีราฟแคระในนามิเบียดูเหมือนจะมีคอและขาที่สั้นกว่าเพื่อน ๆ ของมันทุกอย่าง

ที่มา : iflscience   

บทความที่คุณอาจสนใจ