แห่ร่วมอาลัย รู้จักโรคร้ายพราก "หมอเมย์" ไม่เจ็บปวด ลุกลาม รู้ตัวอีกที เหลือเวลาไม่นาน

คอมเมนต์:

ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ หลับให้สบายนะคะคุณหมอเมย์

    ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ความรู้ “โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร” เหตุจากกินเค็ม ของหมักดอง โรคนี้อาจไม่แสดงอาการ แนะวิธีป้องกัน...

    จากกรณี แฟนเพจเฟซบุ๊ก หมอเมย์สู้มะเร็งระยะสุดท้าย ได้โพสต์ข้อความอาลัยถึงการจากไปของ พญ.ทักษอร เล้าวงค์ หรือหมอเมย์ ผู้ป่วยแม่ลูกสองที่ตรวจพบป่วยเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร ระยะที่ 4 หรือระยะแพร่กระจาย ซึ่งตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่เธอมีอาการป่วย (ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารที่แพร่กระจายอย่างมากอยู่ได้ไม่นานไม่เกิน 1 เดือน) เธอไม่ยอมแพ้และต่อสู้กับมะเร็งกระเพาะอาหารอย่างสุดความสามารถ กระทั่ง ล่าสุดวันนี้ เฟซบุ๊กแฟนเพจ หมอเมย์สู้มะเร็งระยะสุดท้าย ได้โพสต์ภาพและข้อความแจ้งข่าวร้าย โดยระบุว่า คุณหมอเมย์ได้จากไปอย่างสงบแล้ว ทางเราจึงขอร่วมอาลัย และขอพาให้ทุกท่านรู้จักโรคร้ายนี้ ว่ามันน่ากลัวแค่ไหน

 

Sponsored Ad

 

อาการ

    นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยกับทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์เกี่ยวกับโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ว่า “โรคนี้อาจไม่มีอาการแสดง เพราะอาการของโรคนี้ เป็นอาการเจ็บปวดเหมือนโรคทั่วไป คือ ไม่สบายท้อง ท้องอืด ปวดท้องคล้ายๆ โรคกระเพาะ อ่อนเพลีย จึงเป็นสาเหตุให้มะเร็งกระเพาะอาหารมักพบเมื่อมะเร็งลุกลามแล้ว เนื่องจากการไม่ได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกๆ”

 

Sponsored Ad

 

    “ในขณะที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะอาหารบางราย ก็จะมีอาการ ไม่ว่าจะเป็น คลื่นไส้, อาเจียน, แสบร้อนบริเวณหน้าอก, น้ำหนักลด, ปวดท้อง, ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร, ขับถ่ายเป็นสีดำ” นายแพทย์วีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ความรู้

สาเหตุการเกิดโรค

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนสาเหตุการเกิดโรคนั้น นายแพทย์วีรวุฒิ ระบุว่า มาจากการรับประทานอาหารที่มีรสเค็ม อาหารหมักดอง ขนมกรุบกรอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง รวมถึงการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมาก่อน จึงทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร

    ขณะที่ ปัจจุบัน พบว่ามีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่งมาจาการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือ เอช.ไพโลไร (Helicobacter Pylori)

การป้องกัน

 

Sponsored Ad

 

    ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร แต่มีข้อแนะนำที่อาจจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคนี้ได้บ้าง คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าว เช่น การรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมักดอง อาหารเค็ม และการสูบบุหรี่

การรักษา

 

Sponsored Ad

 

    การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

    - ระยะแรกคนไข้จะไม่มีอาการ แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องอืด แน่นท้อง รับประทานอาหารเข้าไปแล้วปวดท้อง คล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร ระยะนี้รักษาโดยการผ่าตัด หากมะเร็งยังอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหารและคนไข้ไม่มีอาการ ตรวจพบจากการส่องกล้อง จะรักษาโดยการใช้กล้องส่องทางเดินอาหารแล้วเข้าไปตัดเฉพาะเยื่อบุกระเพาะอาหารออก

    - ระยะสอง มะเร็งเริ่มมีขนาดโตขึ้นแต่ยังไม่ไปติดอวัยวะข้างเคียง รักษาโดยการตัดกระเพาะอาหารออก

 

Sponsored Ad

 

    - ระยะที่สาม มะเร็งมีการกระจายไปติดอวัยวะข้างเคียง ทำให้เลาะกระเพาะอาหารออกได้ไม่หมด หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะทำการผ่าตัดออกทั้งหมด รวมถึงเลาะต่อมน้ำเหลืองออกด้วย

    - ระยะสุดท้าย มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะไกล ๆ เช่น ปอด ตับ ต่อมน้ำเหลือง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แพทย์จะรักษา ด้วยวิธีให้เคมีบำบัด

.

.

.

.

.

.

ข้อมูลและภาพจาก เฟซบุ๊ก หมอเมย์สู้มะเร็งระยะสุดท้าย

บทความที่คุณอาจสนใจ