อดีตเจ้าของ "พลายศักดิ์สุรินทร์" เผยหลายคนเข้าใจผิด ยืนยันช้างขบวนแห่ งานเบากว่าลากซุง

คอมเมนต์:

เผยไม่ได้ถูกใช้งานหนักอย่างที่คิด พร้อมเผยที่มาของบาดแผลว่ามาจากไหน ยันช้างขบวนแห่ งานเบากว่าลากซุง

    จากกรณีที่ก่อนหน้านี้มีการเผยแพร่ข่าว "พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยที่ถูกส่งมาเป็นทูตสันถวไมตรีให้กับศรีลังกาเมื่อ 2544 ป่วยหนัก สุขภาพย่ำแย่ ถูกล่ามโซ่ ไม่ได้รับการดูแลที่ดีจากควาญช้าง ประกอบกับศรีลังกาประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ทำให้ช้างได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสมนั้น 

    ล่าสุดทางด้าน เฟซบุ๊ก Phatcharaphorn Kookijtikasem ซึ่งเป็นของคุณพัชรพร คูกิจติเกษม บุตรสาวของ นายสมโรจน์ คูกิจติเกษม เจ้าของอาณาจักรพิพิธภัณฑ์ช้างจังหวัดสุรินทร์ เจ้าของเก่าของ พลายศักดิ์สุรินทร์ ก่อนที่จะถูกส่งไปที่ศรีลังกา ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลอีกด้าน ถึงกรณีที่มีการโหมข่าวว่า พลายศักดิ์สุรินทร์ ถูกใช้งานหนักมานานนับ 22 ปีนั้น ต้องบอกว่า "เป็นเรื่องที่เข้าใจผิด"

 

Sponsored Ad

 

    ด้านอดีตเจ้าของพลายศักดิ์สุรินทร์ เผยว่า ตนไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำช้างกลับ เพราะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของทางราชการ แต่ที่ออกมาโพสต์ก็เพราะอยากนำเสนอว่า พระที่วัดศรีลังกาเมตตาช้างมาก เมื่อช้างไปถึงได้รับการดูแลอย่างดี แต่สาเหตุที่ปัจจุบันช้างป่วยเพราะสาเหตุเกิดจากควาญช้างเก่าเสียชีวิต ควาญช้างใหม่ไม่รู้วิธีจัดการช้างตกมันที่ถูกต้อง จึงได้กลับมารักษาที่ไทย

 

Sponsored Ad

 

    ถ้าหากเปรียบเทียบกับการเอาช้างไปลากซุงในไทย เรียกว่าช้างงาน ที่มีงาสั้นแล้วนั้น  การร่วมพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เป็นงานเบาไปเลย ปีหนึ่งมีไม่กี่ครั้ง เช่นเดียวกับการในสุรินทร์ที่มีการบวชนาคช้าง ซึ่งเป็นการประกอบพิธีมงคลทางศาสนา

    ทั้งนี้ "ช้างบ้าน" ซึ่งเป็นชื่อเรียกของช้างลักษณะดี มีความสง่างามคงรูปเดิม ซึ่งถ้าหาก พลายศักดิ์สุรินทร์ ทำงานหนักงาไม่มีทางยาวสวยได้ขนาดนี้ งาช้างคือของรักของช้างเลย เป็นสัญลักษณ์ความบริสุทธิ์ เป็นมงคล จึงเป็นข้อบ่งชี้ว่าทางศรีลังกาดูแลช้างได้อย่างดี ไม่มีการใช้งานเยี่ยงทาสอย่างที่เข้าใจผิดกัน

 

Sponsored Ad

 

    ส่วนเรื่องบาดแผลที่เกิดขึ้น ได้ข้อมูลว่า เกิดจากควาญช้างคนใหม่ที่ไม่รู้วิธีดูแลเหมือนควาญช้างเดิมที่เสียไป และไม่มีการจัดการที่ถูกต้องในขณะที่ช้างตกมัน

    ด้วยธรรมชาติของพลายศักดิ์สุรินทร์มีความเชื่อง แสนรู้ตั้งแต่ยังเล็ก แทบไม่จำเป็นต้องใช้ตะขอ และโซ่ แต่การตกมันของช้างพลายที่มีร่างกายอุดมสมบูรณ์มากในช่วงเจริญพันธุ์ เป็นธรรมชาติสภาวะชั่วครั้งชั่วคราวในช้างพลาย ปีละ 1-3 ครั้ง อาจแสดงอาการดุร้าย และทำร้ายทุกสิ่งที่ขวางหน้า ควาญคนใหม่จึงควบคุมช้างไม่อยู่ เพราะขาดองค์ความรู้ในจุดนี้ จึงทำให้เกิดบาดแผลต่าง ๆ ตามร่างกาย

    พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับกรณีของ พลายศักดิ์สุรินทร์ ไม่มีการเปิดรับบริจาคใด ๆ ทั้งสิ้นและเตือนว่าห้ามโอนเงินบริจาคช่วยช้างเด็ดขาด

ชมคลิป


คลิปเปิดไม่ออก >>> กดตรงนี้ คลิก <<<

ที่มา : Phatcharaphorn Kookijtikasem

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ