"หมอชิต" ผู้ชายที่คนไทยพูดถึงเยอะที่สุด แต่จนบัดนี้หลายคนก็ยังไม่รู้จักเขาว่าเป็นใคร

คอมเมนต์:

หมอชิตท่านฉลาดจริงๆ

    เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จักแน่นอน กับสถานีขนส่งผู้โดยสาร หมอชิต ที่ เป็นสถานีขนส่งที่ใช้รับส่งผู้โดยสารจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท ขนส่ง จำกัด บนเนื้อที่ของกรมธนารักษ์จำนวน 63 ไร่ เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503

 

    แต่ดังที่เราเรียกกันติดปากกันว่าหมอชิต แต่น้อยคนนักจะทราบกันว่าทำไมถึงต้องเรียกว่าหมอชิต วันนี้ LIEKR ก็เลยมีเรื่องราวความเป็นไปเป็นมาของ หมอชิตมาฝากกันค่ะ 

 

Sponsored Ad

 

 

    หมอชิตโด่งดังเป็นที่รู้จักทั่วไป เมื่อ 50 ปีก่อนโน้น แต่ทว่าแล้วใครคือ หมอชิตตัวจริง? กลายเป็นปัญหาที่หลายคนอยากรู้มาก มีการบันทึกไว้ว่า หมอชิตใช้นามสกุล นภาศัพท์ ซอยนภาศัพท์ที่ถนนสุขุมวิทต้องเกี่ยวข้องกับหมอชิตไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง

 

Sponsored Ad

 

    ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2540 มีนักเขียนเขียนจดหมายไปถามทางบริษัทเพื่อนำมาประมวลในหนังสือ “หมายเหตุประเทศสยาม” ได้รับประวัติหมอชิตจากคุณศศินา (นภาศัพท์) ประจวบเหมาะ พร้อมรูปถ่าย 1 รูป ความยาวเพียง 5 หน้า ไม่ระบุชื่อคนเขียน สรุปว่า

 

    หมอชิต หรือ นายชิต นภาศัพท์ 

 

Sponsored Ad

 

    เป็นลูกคนที่ 3 ของนายเจ็ง นางเลี่ยม นภาศัพท์ เกิดที่ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี   หมอชิตเมื่อเยาว์วัย เรียนภาษาไทยที่คลองสวน จังหวัดฉะเชิงเทรา ออกจากการเป็นทหารเกณฑ์แล้วมาอยู่กับป้าที่กรุงเทพฯ เป็นเสมียนห้างเต๊กเฮงหยูของตระกูลโอสถานุเคราะห์

    พ.ศ. 2462 บวชที่วัดเทพศิรินทราวาส 1 พรรษา สึกแล้วย้ายไปเป็นเสมียนห้างเพ็ญภาค แล้วสมรสกับนางวอน เนติโพธิ์ มีบุตรธิดา 3 คนคือ

    1.นางสอางค์ จารุศร

    2.นายสนั่น นภาศัพท์

    3.นายยงยุทธ นภาศัพท์

 

    ว่ากันว่า หลังจากที่เขาแต่งงานมีครอบครัวแล้วก็แยกตัวออกมาตั้งร้านค้าส่วนตัวที่หน้าวัดมหรรณพาราม ใช้เครื่องหมายการค้าตรามังกร แล้วย้ายไปอยู่ที่เสาชิงช้า กับปากคลองตลาดตามลําดับ เป็นที่รู้จักกันว่า ร้านขายยาตรามังกร ได้คิดปรุงยานัตถุ์โดยอาศัยตําราโบราณของบรรพบุรุษ เรียกว่า ยานัตถุ์หมอชิต

 

Sponsored Ad

 

    “คราวนี้นายชิต นภาศัพท์ ได้นามใหม่ว่า หมอชิต ร้านขายยาตรามังกรก็เปลี่ยนเป็นห้างขายยาตรามังกร”

 

    หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ไปตั้งโรงงานแถวที่บ้านถนนเพชรบุรี กับตั้ง “บริษัทยานัตถุ์หมอชิต” ขึ้น โดยมีบันทึกไว้ว่า หมอชิตทําการค้ายานัตถุ์มานาน 29 ปี ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 นับว่ายานัตถุ์หมอชิตมีอายุยาวนานมากทีเดียว

 

Sponsored Ad

 

    หมอชิตเป็นผู้ขยันขันแข็ง มีความคิดทางการตลาดก้าวหน้า จากเสมียนก็กลายเป็นนายห้างจนเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวย ทำสาธารณประโยชน์ให้กับที่ต่าง ๆ ไว้มาก ทั้งเป็นกรรมการสมาคมพ่อค้าไทย และเมื่อทางราชการพระราชทานตั้งยศพ่อค้าไทย หมอชิตได้รับแต่งตั้งเป็นชั้นเอกทางพาณิชกรรม

 

  

 

Sponsored Ad

 

    นายชุบ ยุวนะวณิชย์ อายุ 80 กว่าปี ชาวบ้านแถวนั้นเล่าว่า  ตลาดนัดหมอชิตซึ่งอยู่ริมคลองบางซื่อนั้นเดิมเป็นตลาดนัดเล็กๆ ที่ชาวสวนเอาผลไม้มาขาย เริ่มปิดตลาดแต่ปีใดไม่แน่ กลายเป็นสถานีขนส่งหมอชิตหรือสถานีขนส่งสายเหนือสายอีสานไปเมื่อไรก็ไม่รู้

 

    หมอชิตถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2496  ด้วยอายุเพียง 58 ปี 

 

 

 


ที่มา :  silpa-mag

บทความที่คุณอาจสนใจ