นักวิทย์พบ "ปลาทอง" ขนาดมหึมา จนน่าตกใจ แถมยังเป็นอันตรายต่อปลาชนิดอื่นที่อยู่ในบ่อ

คอมเมนต์:

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่า "ปลาทอง" จะเป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้มากมายขนาดนี้

    ปลาทองเป็นหนึ่งในปลาที่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงกันเป็นอันดับต้น ๆ เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงไม่ยาก ดูสวยงาม มีชีวิตชีวา อีกทั้งยังมีชื่อที่เป็นมงคลอีกด้วย

    ในความเป็นจริงปลาทองไม่ได้มีขนาดเล็กและดูสวยงามเสมอไป เพราะเมื่อไม่นานมานี้นักวิทยาศาสตร์ในแคนาดา พบปลาทองขนาดมหึมา ในท่าเรือแฮมิลตันซึ่งเป็นอ่าวที่อยู่ปลายด้านตะวันตกของทะเลสาบออนแทรีโอ

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งการจับปลาทองขนาดมหึมานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่ใช้แท็กเครื่องส่งสัญญาณอะคูสติก เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของปลาทองผ่านเสียง

 

Sponsored Ad

 

    โดยในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบปลาทองมากกว่า 20,000 ตัวในทะเลสาบออนแทรีโอ ซึ่งแต่ละตัวมีขนาดใหญ่มาก!

    นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า สภาพแวดล้อมที่นี่แย่มาก น้ำตื้น ปริมาณออกซิเจนต่ำ และอุณหภูมิในฤดูร้อนมากกว่า 30 องศา ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับปลาสายพันธุ์อื่นที่จะอยู่รอดในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่แบบนี้

 

Sponsored Ad

 

    แต่ไม่ใช่กับ "ปลาทอง" เพราะปลาทองเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนต่ำได้ และวิธีการที่พวกมันกินอาหารก็ทำให้คุณภาพน้ำแย่ลง มันจะถอนรากถอนโคนพืชใต้น้ำ สุดท้ายปลาชนิดอื่นจะไม่สามารถอยู่ใกล้พวกมันได้

 

Sponsored Ad

 

    สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กังวลก็คือ ปลาทองไม่ได้อยู่แค่ในสระน้ำแห่งนี้เท่านั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ยังพบปลาทองกำลังผสมพันธุ์ในท่าเรือแฮมิลตัน ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่วางไข่ที่สำคัญของปลาพื้นเมือง เช่น ปลาวอลล์อาย หรือ Yellow perch ปัจจุบันน้ำส่วนใหญ่ใกล้ท่าเรือมีระดับออกซิเจนที่ต่ำ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับปลาพื้นเมืองที่จะอยู่รอดได้

    ปลาทองจะอยู่รอดที่นี่ได้และมีแนวโน้มว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นได้ในอนาคต

 

Sponsored Ad

 

    ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าปลาทองที่คนส่วนใหญ่เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงาม เมื่อพวกมันอาศัยอยู่ตามธรรมชาติจะเป็นสัตว์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมได้มากมายขนาดนี้

ที่มา : Sohu | เรียบเรียงโดย โลกของโฮ่ง | ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : fishingthai

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ