ทำความรู้จักอาชีพของ "คริสโตเฟอร์" หนุ่มอนาคตไกล คู่หมั้นของ "ซูซี่ สุษิรา"

คอมเมนต์:

ทำความรู้จัก EOD อาชีพ "คริสโตเฟอร์" คู่หมั้นของ "ซูซี่ สุษิรา" หนุ่มอนาคตไกล แต่ตอนนี้กลับต้องเศร้า!

        เป็นข่าวร้อนสุดดราม่ารับต้นปีแล้วค่ะ เมื่อนางเอกชื่อดังออกมาประกาศผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวถึงการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของเธอ ที่คู่หมั้นต้องจากไปอย่ากะทันหัน...

        ซูซี่ สุษิรา นักแสดง และนางเอกชื่อดัง ที่มีชื่อเสียงอย่างมากจากละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส ล่าสุดเธอได้โพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัวเป็นภาษาอังกฤษยาวเหยียด ถึงคู่หมั้นซึ่งเป็นสุดที่รักของเธออย่าง คริสโตเฟอร์ [อ่านเพิ่มเติม: "ซูซี่ สุษิรา" รักทางไกล-คบกันเกือบ 7 ปี "แฟนหนุ่ม" ทหารยศใหญ่ในอเมริกา แต่ตอนนี้กลับต้องเศร้า!]

 

Sponsored Ad

 

        สำหรับหนุ่มคริสโตเฟอร์นั้น เป็นทหาร EOD ของประเทศสหรัฐอเมริกา คือ หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD (Explosive Ordnance Disposal) และวันนี้ทีมงานได้หาข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพนี้มาฝากกันค่ะ 

 

Sponsored Ad

 

หน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (ทรล.) : EOD (Explosive Ordnance Disposal)

        ในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน? วัตถุระเบิดถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบ? อันก่อให้เกิด หรือเพิ่มระดับความขัดแย้งในทุกเหตุการณ์บนโลก? เมื่อถามถึงอันตรายที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น? หลายคนคงตอบว่า? ก็คือ แรงระเบิด ไง? แต่เป็นคำตอบที่ถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น? เพราะผลลัพธ์ที่แท้จริงที่เกิดจากวัตถุระเบิดนั้น คือ แรงดันหรือแรงระเบิด, สะเก็ดระเบิด ที่เกิดจากวัสดุที่ใช้ห่อหุ้มวัตถุระเบิดนั้นๆ และท้ายที่สุด คือ ความร้อน? สิ่งที่เป็นตัวอันตราย และเป็นตัวกำหนดระยะปลอดภัย คือ สะเก็ดระเบิด? เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุด

 

Sponsored Ad

 

        วัตถุระเบิด ประกอบด้วยองค์ประกอบ คือ กลไกการจุดระเบิด, เชื้อปะทุ และดินระเบิด โดยเริ่มการทำงานจาก กลไกการจุดระเบิด ที่เราอาจจะไปสัมผัสถูก, กดถูก, สะดุดถูก, ยกของที่กดทับออก หรือ คนร้ายกดรีโมทสั่งการจากระยะที่ปลอดภัย? จึงเป็นที่มาของสิ่งแรกที่ผู้พบเห็นวัตถุระเบิดแสวงเครื่อง หรือ IED (Improvised Explosive Device) ที่จะต้องปฏิบัติ คือ การห้ามไปสัมผัสโดนอย่างเด็ดขาด และห้ามเคลื่อนย้าย? ลำดับต่อมา คือ การกั้นพื้นที่ และลำเลียงผู้คนออกจากพื้นที่ในรัศมี 100, 200 และ 400 เมตร? โดยขึ้นอยู่กับการคาดการณ์น้ำหนักของวัตถุระเบิดที่ 5, 5-10 และมากกว่า 10 กิโลกรัม ตามลำดับ? ในขั้นตอนที่ 3 คือ การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ? ซึ่งเจ้าหน้าที่ EOD ของตำรวจที่มีประจำในทุกจังหวัดจะมีอำนาจเต็มทางกฎหมาย และความรับผิดชอบในยามปกติ? ในขณะที่ EOD ของหน่วยงานทหารจะมีอำนาจเต็มในพื้นที่ของหน่วยทหาร และในยามสงคราม หรือไปเป็นตามการร้องขอจาก EOD ตำรวจ? ที่จะต้องอาศัยความชำนาญในเฉพาะด้านของ EOD แต่ละเหล่าทัพ? นอกจากนั้นยังสามารถรับการสนับสนุนจากหน่วยงานทหารช่างในส่วนของผู้ที่จบ หลักสูตรสงครามทุ่นระเบิด ซึ่งบรรจุให้ปฏิบัติงานอยู่ในส่วนของกองพันทหารช่างของกองพลทหารราบ/ม้า? แต่ขีดความสามารถจะจำกัดในการค้นหา และความชำนาญเฉพาะด้านการปฏิบัติต่อกับระเบิด และทุ่นระเบิดเท่านั้น? เนื่องจากขอบเขตการศึกษาของหลักสูตรเพียง 4 อาทิตย์ และอุปกรณ์ที่เหมาะกับสงครามทุ่นระเบิด

 

Sponsored Ad

 

        ในส่วนของ EOD เหล่าทัพจะแยกความรับผิดชอบตามชนิดของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหล่าทัพนั้นๆ มีประจำการ หรือเกี่ยวข้องและมีความชำนาญอยู่? ในขั้นตอนที่ 4 คือ การติดต่อกับหน่วยงานประเภทให้การสนับสนุน หรือให้การช่วยเหลือ อาทิเช่น รถพยาบาล, รถดับเพลิง, รถให้แสงสว่าง, สุนัขตำรวจ หรือสุนัขทหาร (ดมวัตถุระเบิด) ฯลฯ และการกันผู้พบเห็นวัตถุต้องสงสัยเป็นคนแรก เป็นพยานไว้? เพื่อให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ในเรื่องลักษณะของวัตถุต้องสงสัย, เวลาที่พบเจอ ฯลฯ

 

Sponsored Ad

 

        พัฒนาการของหน่วย EOD ในต่างประเทศนั้น? 

        ริเริ่มโดยอังกฤษในยุคสมัยของสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการที่ต้องเก็บกู้ลูกระเบิดอากาศที่ถูกทิ้งจากเครื่องบินโจมตีของฝ่าย เยอรมัน? แต่เนื่องจากชนวนของลูกระเบิดอากาศไม่มีความซับซ้อนเท่าไร? อุปกรณ์การเก็บกู้จึงใช้เพียงชุดตะขอและเงื่อนเชือก (Hook and Line) และไม่ค่อยเกิดความสูญเสียใด? แต่ในระยะต่อมามีการพัฒนาของชนวนที่สามารถถ่วงเวลา, ตั้งเวลา และความสูงได้? จึงก่อให้เกิดความสูญเสียเป็นจำนวนมาก? อุปกรณ์จึงมีการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว

 

Sponsored Ad

 

        ในส่วนของสหรัฐอเมริกา? 

        การเรียนการสอนเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ EOD เริ่มในปี พ.ศ.2488 โดยกองทัพเรือสหรัฐฯ แล้วประเทศไทยได้ส่งนายทหาร และนายสิบไปเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 เป็นต้นมา? ซึ่งเมื่อกลับมาได้จัดตั้งแผนกกระสุน และวัตถุระเบิด กองการศึกษา โรงเรียนทหารสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ในปี พ.ศ.2509 เป็นหน่วยให้การศึกษาในวิชากระสุน และวัตถุระเบิด และรับผิดชอบการฝึกนักทำลายล้างวัตถุระเบิดให้กับกองทัพบก? ซึ่งในปัจจุบันได้ผลิตนักทำลายฯ ระดับนายทหารชั้นสัญญาบัตร 193 นาย และชั้นประทวน 342 นาย รวม 535 นาย? ไปปฏิบัติหน้าที่ในแผนกฯ, ชุด ทลร.ที่มีอยู่ 15 นายต่อชุดประจำใน กองพันกระสุน กองบัญชาการช่วยรบ ทั้ง 4 กองทัพภาค, แผนก 1-6 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก, ฉก.อโณทัย และหน่วยอื่นๆ? โดยตำแหน่งที่กล่าวมาจะได้รับเงินเพิ่มค่าฝ่าอันตรายสำหรับนายทหารสัญญาบัตร 10,000 บาท และ ประทวน 7,500 บาท? ซึ่งจะงดรับเมื่อไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยที่กล่าวมาข้างต้น ไม่เหมือนเงินเพิ่มของนักบิน ทบ. ที่จะมีติดตัวไปตลอด แต่ได้มีการริเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะขอสิทธิดังกล่าว? ในกรณีที่ จนท.ได้ปฏิบัติหน้าที่มาแล้วเป็นอย่างน้อย 3 ปี? ซึ่งคงได้แต่รอคอยความกรุณาจากผู้บังคับบัญชาชั้นสูงต่อไป

Sponsored Ad

        สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ และการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.? สามารถติดตามชมได้จากหนัง DVD เรื่อง Hurt Locker ที่กล่าวถึงการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ของกองทัพสหรัฐฯ ในประเทศอิรัก? ซึ่งมีบางสิ่งที่แตกต่างไปจากหลักการปฏิบัติงานของ ทบ.ไทย คือ จนท.ทรล.ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งมักจะใช้ชุดละ 6 นาย? แต่ในหนังใช้เพียง 3 นาย? โดยแต่ละนายจะต้องปฏิบัติหน้าที่เป็น หัวหน้าชุด, พลขับ, จนท.ทำลาย, ผช.จนท.ทำลาย, จนท.อิเลคทรอนิกส์ และ จนท.สื่อสาร/ซักถามพยาน

        สิ่งที่เป็นปัญหาของ หน่วย ทรล. ในปัจจุบัน คือ ชุด ทรล.ถูกใช้งานเกินขีดจำกัด? เนื่องจากในหลักการแล้ว? หน่วย ทรล. มีหน้าที่ในการเข้าไปทำการนิรภัยกระสุน และวัตถุระเบิดให้ปลอดภัยเท่านั้น? ซึ่งเวลาส่วนใหญ่ควรหมดไปกับการคิด และวางแผน? เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างลุล่วง? ปลอดภัยทั้งสถานที่เกิดเหตุ, ผู้ประสบเหตุทุกคน และ จนท.ในหน่วย? ในขณะที่การตรวจค้นวัตถุระเบิด, การเก็บพยานวัตถุ และกิจกรรมที่นอกเหนือจากนี้จะอยู่ในความรับผิดชอบของ เจ้าหน้าที่ตรวจค้นวัตถุระเบิด หรือ EORA : Explosive Ordnance Reconnaissance Agent? ซึ่งเป็น จนท.ทหาร, ตำรวจ, จนท.ดับเพลิง หรือ จนท.ในหน่วยบรรเทาสาธารณภัยทางพลเรือนอื่นๆ? ที่ผ่านการฝึกอบรมมาแล้ว และได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบในการตรวจค้นสรรพาวุธระเบิด? ซึ่งการอบรมอาจจะใช้ห้วงเวลาไม่เกิน 2 อาทิตย์? ในขณะที่หลักสูตร ทลร.ใช้เวลา 16 อาทิตย์

        จนท.ตรวจค้นวัตถุระเบิดจะช่วยบริหารการ ปฏิบัติงานของหน่วย ทรล.ได้เป็นอย่างดี? เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลาในการไปหาที่ตั้งของวัตถุระเบิด, ไม่ต้องไปสอบถามพยาน เพราะคำตอบได้ถูกเตรียมไว้แล้ว, มีการแจ้งเตือนให้เตรียมอุปกรณ์ไปใช้งานที่ถูกชนิดถูกประเภท, มีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นวัตถุระเบิดปลอมหรือไม่ในระดับหนึ่ง, ลดงานในเรื่องของการเก็บวัตถุพยาน และที่สำคัญที่สุด คือ ชุด ทรล. จะมีเวลาในการฝึกมากขึ้น? เพราะหน่วย ทรล. จำเป็นต้องมีการฝึกด้วยโจทย์ใหม่ๆ โดยตลอด

        โจทย์เหล่านี้ได้มาจาก ข้อมูลที่หน่วย ทรล.ของทุกเหล่าทัพ และหน่วย ทรล.มิตรประเทศ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันโดยตลอด? ในปัจจุบันรับผิดชอบโดย EOD Data Center ของ สพ.ทบ.? เพื่อให้มีการวางรูปแบบกับเหตุการณ์ที่อาจจะต้องเผชิญ และเพิ่มข้อมูลทางเทคนิคความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ที่ค่อนข้างจะทันสมัย ซึ่งงานประเภทนี้มีการท้าทายจากผู้ก่อความไม่สงบตลอดเวลา

        บทความนี้แสดง ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงกระบวนการปฏิบัติงานของหน่วย ทรล. ของ สพ.ทบ., วิวัฒนาการของหน่วย, อันตรายจากวัตถุระเบิด ตลอดจนแนวทางที่สามารถอำนวยการให้หน่วย ทรล.สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด? ซึ่งความสำเร็จ หรือ ความดีความชอบมิได้ปรากฏ หรือแสดงได้ด้วยเงินทอง และชื่อเสียง? แต่สิ่งที่ต้องการที่สุด คือ ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน? เพื่อลดโอกาสการนำมาซึ่งการต่อรอง และเจรจา? ในสิ่งที่ทำให้กลุ่มผู้ไม่หวังดีได้ประโยชน์ และลดปัญหาการนำวัตถุระเบิดมาเป็นสิ่งต่อรอง


นี่เป็นภาพจากหนัง

๑. วัตถุระเบิดคืออะไร วัตถุระเบิดคือ สสารที่เมื่อถูกความร้อนการกระแทกการเสียดสีที่พอเหมาะจะเกิดการเปลี่ยนสภาพ จากสถานะเดิมไปเป็นแก๊สปริมาณ มหามาร ในเวลารวดเร็วซึ่งเราใช้ความสามารถนี้นำมาใช้ประโยชน์ทั้งที่ดีและไม่ดี

๒. วัตถุระเบิดแสวงเครื่องคืออะไร วัตถุระเบิดแสวงเครื่องคือการนำสารเคมีหรืออุปกรณ์ที่มีอยู่ในพื้นที่นั้นๆ หรือหาได้ง่าย นำมาทำเป็นวัตถุระเบิด โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบสิ่งของที่เห็นในชีวิตประจำวัน

๓.องค์ประกอบของวัตถุระเบิดแสวงเครื่องที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย

        ๓.๑ ดินระเบิด

        ๓.๒ เชื้อประทุ

        ๓.๓ แหล่งจ่ายไฟ

        ๓.๔ สวิชควบคุมการจุด

๔.เราจะป้องกันการลอบวางระเบิดได้อย่างไร

        ๔.๑ หัดเป็นคนช่างสังเกตุ

        ๔.๒ หัดเป็นคนช่างสงสัย

        .๓ เป็นคนไม่ประมาท ซึ่ง ๓ ข้อข้างต้นจะนำมาเป็นข้อพิจารณาวัตถุใดว่าเข้าข่ายวัตถุต้องสงสัยหรือไม่

๕.วัตถุต้องสงสัยมีลักษณะดังนี้

        ๕.๑ ไม่เคยเห็น ว่าเคยมีอยู่ เคยตั้งอยูในบริเวณนั้น

        ๕.๒ ไม่เป็นของใคร หรือตามหาเจ้าของไม่พบ ใน ๒ ข้องแรกนี้เราสามารถพิจารณาว่าเป็นวัตถุต้องสงสัยได้เลยทันที

        ๕.๓ ไม่ใช่ที่อยู่ ไม่ควรจะอยู่ในบริเวณนั้น เช่น กระเป๋าไปอยู่ในถังขยะ ถังดับเพลิงอยู่ใต้ถนน

        ๕. ๔ ดูไม่เรียบร้อย เช่นมีสายไฟโผล่ออกมา มีคราบน้ำมัน ( ในปัจจุบันพื้นที่ ๓ จชต. ทำได้เรียบร้อยมาก แถมสวยงามและคุณภาพดีน่าส่งเสริมให้เป็นสินค้า โอทอป จริงๆ )

๖.เมื่อพบแล้วจะทำอย่างไรซึ่งเราจะแยกเป็นประชาชน และเจ้าหน้าที่

เมื่อประชาชนพบ

        – ห้าม แตะจับขยับเขยื่อน

        – ถาม ว่ามีใครเป็นเจ้าของหรึอไม่

        – จดจำ ลักษณะของวัตถุต้องสงสัย ขนาดรูปร่าง วางตรงไหน มีอะไรอยู่ใกล้ๆบ้างที่จะเกิดอันตรายเมื่อเกิดการระเบิด

        – แจ้งเจ้าหน้าที่


สำหรับเจ้าหน้าที่

        – กั้นพื้นที่ปลอดภัยและไล่คนไม่เกี่ยวข้อง ออกไปจากพื้นที่การกั้นเขตปลอดภัยต้องกั้นอย่างน้อย ๑๐๐ เมตร

        – บอกให้ผู้พบเห็นรอบอยู่ในพื้นที่นั้นก่อน

            – ถามลักษณะของวัตถุต้องสงสัยอย่างละเอียด

        – เรียกหน่วยที่จำเป็น เช่นรถพยาบาล รถดับเพลิง เจ้าหน้าที่การไฟฟ้า เจ้าของสถานที่( ถ้ารถพยาบาลไม่มีเอาปอเต็กตึ๊งก็ได้ )

        – แจ้งเจ้าหน้าที่ EOD. แล้วรอ


นี่เป็นภาพจากหนัง

        ท่าน อาจสงสัยบว่า EOD. คืออะไร ทำไมต้องรอมันเข้าไปกู้ระเบิดเองได้มั้ย ของตอบว่าได้ครับแต่รถปอเต็กตึ๊งที่เรียกมาอาจจะได้ทำงาน และท่านก็จะได้ลงหน้า ๑ หนังสือพิมพ์ทุกฉบับเป็นเวลาอย่างน้อย ๑ วัน ครอบครัวจะได้เงินใช้ เมียจะมีผัวใหม่ ลูกจะได้รับราชการ ข้อดีมีอย่างนี้เข้าไปกู้ระเบิดเองเลยครับ และสำหรับผู้ที่อยากรู้อยากเห็นก็ต้องถามว่าทำประกันชีวิตไว้หรือยังถ้ายัง ก็ไปทำซะ ไม่งั้นจะโดนลูกหลงฟรีๆไม่ได้ตังค์ ซึ่ง EOD. อย่างผมก็ชอบเหมือนกัน เพราะไม่ได้ทำงานและก็ไม่เสียวดีด้วย มาเข้าเรื่องกันดีกว่าว่า EOD. มันคืออะไร

        EOD. ย่อมาจาก EXPLOSIVE ORDNDNCE DISPOSAL หรือ เจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดซึ่งในประเทศไทยมีมากมาย ทั้งทหารบก เรือ อากาศ ตำรวจ ซึ่งจะต้องจบหลักสูตรทำลายวัตถุระเบิดก่อนจึงจะทำงานด้านนี้ได้ ถามว่าทำงานแบบนี้กลัวมั้ยขอตอบว่าไม่กลัวซะเมื่อไหร่ครับ กลัวตายทุกคนน่ะแหละยังไม่มีเมียเลยจะตายก่อนได้ไง( ความหวังสูงสุดในชีวิต อิอิ ) ซึ่งถ้าท่านทำตามการปฏิบติที่ผมกล่าวมาข้างต้นแล้วเจ้าหน้าที่ EOD. จะดำเนินการต่อไปเองครับ โดยเราจะเน้นการทำงานแบบเข้าคนเดียวก็ตายคนเดียว เพื่อนๆ จะคอยเป็นกำลังใจอยู่ห่างและเตรียมเครื่องมือให้ทำงานเท่านั้น และผมอยากจะบอกว่าประชาชนทุกคนไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าพบตอนยังไม่ระเบิด ผมจะพยายามทำงานอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องผู้บริสุทธิ์ ไว้ให้ได้ แต่ EOD. ยังมีปัญหาอีกอย่างครับ คือเครื่องมือไม่มีที่จะทำงาน แม้แต่ชุดป้องกันสะเก็ดระเบิด เข้าไปทำงานตัวเปล่าๆ ตลอด ขอให้ผมได้ตาย ศพ สวยๆ บ้างเถอะครับอย่าให้เป็นทหารปีบเลย ( พอระเบิดแล้ว ๑ คน เหลือปีบเดียว ) ถ้าจะซื้อให้ก็ขอบพระคุณอย่างสูง แต่ขอให้ถามเจ้าหน้าที่ก่อนว่าอยากได้เครื่องมืออะไรรุ่นไหน ขอเลือกเครื่องมือเองครับถ้าตายจะได้ไม่โทษใครเพราะเลือกเอง เพราะว่าปัจจุบันเสี่ยงมากเครื่องมือไม่มีความพร้อม รึว่า ผู้บังคับบัญชา ต้องรอให้เจ้าหน้าที่ตายก่อน ถึงจะมาดำเนินการจัดหาหรือซื้อเครื่องมือให้ เรื่องยศตำแหน่งอะไรผมไม่ต้องการมากมายหรอกครับ ขอเครื่องมือที่ดีมีประสิทธิภาพผมก็มีกำลังใจและความมั่นใจในการทำงานแล้ว ครับ ถ้าเจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานแบบไม่มั้นใจว่าจะรอดหรือเปล่าแล้วจะเข้าไปช่วย ใครที่ไหนได้คครับ เจ้านาย

รู้จัก E.O.D

        เมื่อเอ่ยคำว่า E.O.D คงต้องยอมรับว่าในแวดวงทหาร หรือตำรวจเองก็มีน้อยคนที่จะรู้จัก เว้นแต่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสายงานนี้เท่านั้น จึงจะสามารถ ให้ความกระจ่างได้อย่างชัดเจน ถึงภารกิจและหน้าที่ของหน่วยงานสำคัญหน่วยหนึ่ง ซึ่งทำงานในลักษณะปิดทองหลังพระมาตลอดเวลา หน่วย E.O.D หรือนักทำลายวัตถุระเบิดนี้สังกัดอยู่กองบังคับการสายตรวจและปฎิบัติการ พิเศษ ปัจจุบันมีนักEODในอัตราอนุญาติ 95 นาย จัดแบ่งเป็น 15 ชุดปฏิบัติการ รับผิดชอบทั่วทั้งประเทศ แต่เนื่องจากงบประมาณและกำลังพลจำกัดจึงจำเป็น ต้อง ให้ ตชด. เข้ามาดูแลรับผิดชอบในส่วนของ ต่างจังหวัดแทน แต่หากมีการร้องขอก็จะส่งชุดปฏิบัติการจากส่วนกลางไปดำเนินการ ตามคำขอนั้น

        การปฏิบัติงานของหน่วย E.O.D ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้จากการประชุมระดับโลกต่างๆในหลายๆครั้งที่จัดขึ้นใน ประเทศไทยและสำเร็จเรียบร้อย ไปด้วยดี ทุกๆครั้งนั้น นับได้ว่าผลงานส่วนหนึ่งเกิดจากการทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุร้ายขึ้นของหน่วยงาน นี้ ซึ่งการทำงานต่างๆมักจะไม่ค่อยมีผู้สนใจหรือให้ความสำคัญจวบจนเมื่อมี เหตุการณ์ลอบวางระเบิดต่างๆขึ้น จึงทำให้หลายฝ่ายหันมาให้ความ สนใจในภารกิจของหน่วยงานนี้ขึ้นมา

        การทำงานที่ตัดสินความเป็นความตายในเสี้ยววินาที! อย่าปล่อยให้พวกเขาทำงานด้วยตัวและหัวใจทั้งๆที่ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้เลย ว่า เสร็จงานแล้ว พวก เขาจะมีโอกาสได้กลับไปพบกับครอบครัวอีกหรือไม่

E.O.D

Explosive : วัตถุระเบิด

Ordnance : สรรพาวุธ, อาวุธยุทโธปกรณ์

Disposal: การกำจัด

It?s always a bomb until you can prove it?s not.

ต้องระลึกเสมอว่าเป็นระเบิดจนกว่าจะพิสูจน์ทราบว่ามันไม่ใช่ระเบิด!


วีรบุรุษโล่เงิน พ.ต.อ สุรัตน์ สุมานัส

        ในอดีตกองพลาธิการ กรมตำรวจ มีหน้าที่และความรับผิดชอบงานพลาธิการงานโยธาธิการและงานสรรพวุธ ก่อนที่จะมีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่เช่นปัจจุบัน พ.ต.อ สุรัตน์ สุมานัส เดิมมียศ พ.ต.ท ตำแหน่ง หัวหน้าแผนก วัตถุระเบิด กองพลาธิการ กรมตำรวจเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในเรื่องการตรวจค้น, เก็บกู้, ขนย้าย, ลำเลียง , ทำลายเครื่องกระสุน, วัตถุระเบิดและกับระเบิดชนิดต่างๆ แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นผู้เดียวที่เชี่ยวชาญ เรื่องวัตถุระเบิดของกรมตำรวจ ภารกิจเต็มไปด้วยภยันตรายซึ่งพร้อมจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เนื่องจากขณะนั้น อุปกรณ์เครื่องมือในการเก็บกู้ยังไม่ทันสมัย พ.ต.อ สุรัตน์ สุมานัส ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ และสัมฤทธิผล ด้วยดีตลอดมา

        จนกระทั้งถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2525 ได้เข้าทำการกู้ระเบิดที่คนร้ายลอบวาง ณ สถานกงสุลอิรัก โดยบรรจุระเบิดไว้ในกระเป๋าเอกสาร แต่ไม่สามารถเปิดกระเป๋าเพื่อทำการกู้ได้ จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายไปทำลาย ในที่ปลอดภัย ปรากฏว่าขณะที่กำลังทำการเคลื่อนย้ายได้เกิดระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้ พ.ต.อ สุรัตน์ สุมานัส เสียชีวิตทันที เป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่แก่นายตำรวจนักเก็บกู้ระเบิดของกรมตำรวจ ยังความเศร้าโศกเสียใจมาสู่ครอบครัว และเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยทั่วไป การปฎิบัติหน้าที่ของ พ.ต.อ สุรัตน์ สุมานัส ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ คำนึงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างสูงยิ่ง ถือเป็นแบบฉบับให้แก่ตำรวจรุ่นหลังพึงยึดถือเป็นตัวอย่าง และถือปฎิบัติ สมกับการเป็น ?ผู้พิทักสันติราษฏร? อย่างแท้จริง

การปฏิบัติกรณีพบวัตถุต้องสงสัย

        1. เตรียมถามหาเจ้าของ

        2.ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุระเบิดนั้นๆ ได้แก่ สี รูปร่าง ลักษณะ ขนาด น้ำหนักโดยประมาณและพฤติการณ์ก่อนเกิดเหตุ

        3. การอพยพผู้คน หากมีความมั่นใจว่าเป็นวัตถุระเบิด ให้รีบดำเนินการด้วยความเรียบร้อยอย่าให้เกิดการชุลมุนและให้ไปอยู่ในที่ปลอดภัย มีที่กำบัง

        4. ปิดกั้นห้ามคนเข้า ? ออก , ผ่าน โดยเด็ดขาด จัดคนเฝ้าไว้ในระยะปลอดภัย สามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา

        5. รีบดำเนินการแจ้ง ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

        6. ทำให้ปลอดภัยในเบื่องต้น กรณีที่ยังไม่มีการเคลื่อนย้ายมาก่อน ให้ใช้กระสอบทราย / ยางรถยนต์ครอบไว้ สำหรับกรณีมีการเคลื่อนย้ายแล้วให้เคลื่อนย้ายในลักษณะเดิม ไปยังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้

        7. จัดพนักงานลาดตระเวน หาข่าวโดยรอบบริเวณ ในรัศมี 300 เมตร เพื่อสังเกตุผู้มีพิรุธ

        8. หากมีความจำเป็น ให้ทำการตรวจสอบโดยด่วน ดังนี้

        – ใช้เครื่องฟังตรวจสอบเสียงนาฬิกาก่อน

        – ถ้าจะทำการเปิด ให้ทำการเปิดระยะไกลจากเชือกและอยู่ในที่กำบังที่ปลอดภัย

        – ถ้าจะทำการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ ให้ใช้เชือกหรืออุปกรณ์ที่สามารถควบคุมระยะไกล ทำให้เคลื่อนไหว หรือพลิกล้มทุกด้านก่อน

        – ถ้ามีเครื่องเอ็กเรย์ ให้ใช้เครื่องอ็กซ์เรย์ก่อนดำเนินการใดๆ

        – การเข้าไปหาวัตถุต้องสงสัย ห้ามการใช้วิทยุสื่อสารทุกชนิดในรัศมี 100 เมตรเด็ดขาด

        – ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรแตะต้องวัตถุต้องสงสัยนั้น ควรรอให้เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญมาตรวจสอบ

        9. เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้เก็บกู้มาถึง ควรจัดหาผู้รู้รายละเอียดไว้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ด้วย

การปฏิบัติกรณีพบวัตถุระเบิด

        1. จัดพนักงานเตรียมข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุระเบิด เป็น ชนิด, ลักษณะใด ขนาด รูปร่าง สีน้ำหนัก โดยประมาณ มีอุปกรณ์อะไรประกอบที่เห็นได้ เช่น สายไฟ นาฬิกาฯ สถานที่พบ ใครเป็นผู้พบ และผู้รู้เส้นทางเข้าออกเพื่อรอให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่

        2. ใช้เชือกปิดกั้น ไม่ให้เข้าไปรบกวน วางกระสอบทราย, นำยางรถยนต์ครอบไว้ มีป้ายเตือนและจัดคนเฝ้าในที่ที่ปลอดภัย

        3. รีบแจ้งผู้บังคับบัญชาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมอพยพผู้คนไปไว้ในรัศมีที่ปลอดภัย (300 เมตรขึ้นไป)

        4. ถ้าวัตถุระเบิดอยู่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย เช่น สลักนิรภัยถูกถอดออก ให้ดำเนินการตามข้อ 2-3


การปฏิบัติกรณีเกิดการระเบิดแล้ว

        1. ปิดกั้นสถานที่นั้นๆ ห้ามคนที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไปรบกวน หรือค้นหาทรัพย์สินหรืออื่นๆ และมีคนเฝ้าไว้

        2. ถ้ามีผู้บาดเจ็บให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที

        3. ก่อนมีการตรวจสถานที่เกิดเหตุโดยผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด ห้ามเก็บกวาด ทำความสะอาดใดๆ

        4. ถ่ายภาพวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุไว้ทั้งหมด

        5. หากพบวัตถุพยานใดๆ ให้ทำเครื่องหมายไว้ แล้วเก็บใส่ถุงปิดผนึกตีตราครั่งภายในบรรจุข้อมูลสถานที่พบไว้ด้วย


        และสุดท้ายหลายท่านอาจะสงสัยว่า แท้จริงแล้วสาเหตุการเสียชีวิตของคริสโตเฟอร์หรือคู่หมั้นของสาวซูซี่มาจากสาเหตุอะไร ซึ่งในตอนนี้ สาวซูซี่เองยังไม่พร้อมที่จะเปิดเผยรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของคู่หมั้น และได้มีแฟนคลับหลายคนรวมถึงคนสนิท เข้าไปให้กำลังใจซูซี่ ในยามที่อ่อนแอที่สุดเช่นนี้ หากมีความคืบหน้าทีมงานจะรีบรายงานให้ทราบในทันที    

ซูซี่ - คริสโตเฟอร์


ซูซี่ - คริสโตเฟอร์

ซูซี่ - คริสโตเฟอร์

ซูซี่ - คริสโตเฟอร์

ซูซี่ - คริสโตเฟอร์

ซูซี่ สุษิรา

ซูซี่ สุษิรา

        ทีมงานไลค์เกอร์ขอแสดงความเสียใจต่อคุณซูซี่และครอบครัวด้วยนะคะ

ข้อมูลและภาพ จาก mthai / honghongworld

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ