เปิด 10 แนวคิด การแก้ปัญหา "ฝุ่นควันพิษ" จากทั่วโลกเค้าทำยังไงกันบ้าง !?

คอมเมนต์:

เปิด 10 แนวคิด การแก้ปัญหา "ฝุ่นควันพิษ" จากทั่วโลกเค้าทำยังไงกันบ้าง !?

    จากสถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่ปกคลุมไปทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งตอนนี้อยู่ในเกณฑ์ "เริ่มมีผลต่อสุขภาพ" ซึ่งตอนนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างหาวิธีแก้ไขอย่างเร่งด่วน แต่เหมือนจะยังแก้ไขไม่ตรงจุด และสถานการณ์ก็วิกฤตมากขึ้น วันนี้จะพาไปดูการแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ใน 10 ประเทศที่เคยประสบปัญหานี้ เขาจะแก้ปัญหายังไง ตามไปดูกันเลย

1. ปารีส ประเทศฝรั่งเศส

 

Sponsored Ad

 

    ปารีสสั่งให้งดใช้รถยนต์ในย่านศูนย์กลางเมืองช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ให้ใช้ขนส่งสาธารณะแทน โดยให้บริการฟรีตลอดช่วงมาตรการลดมลพิษทางอากาศ กระตุ้นให้เกิดการแชร์รถยนต์และจักรยาน โดยทำโครงการให้ยืมจักรยาน อีกทั้งห้ามใช้รถยนต์ตลอดถนนฝั่งขวาของแม่น้ำแซน และห้ามใช้รถยนต์ในถนนฌ็องเซลิเซ่ เดือนละครั้ง และห้ามรถยนต์เก่าและรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขับเข้าเขตใจกลางเมืองอย่างสิ้นเชิง 

 

 

Sponsored Ad

 

2. นิวเดลี ประเทศอินเดีย

    กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย สั่งห้ามใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ และรถ SUV ที่มีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่กว่า 2,000 ซีซี ยกเลิกการใช้รถแท็กซี่เครื่องยนต์ดีเซลกว่าหมื่นคัน นอกจากนี้ ยังทดลองนโยบายให้รถเลือกวิ่งวันคู่หรือวันคี่ และส่งเสริมการใช้รถมินิบัสออนดีมานด์แบบ Uber มากขึ้น 

 

 

Sponsored Ad

 

3. เนเธอร์แลนด์

    รัฐบาลเนเธอร์แลนด์เสนอนโยบายห้ามขายรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลภายในปี 2025 อนุญาตให้ขายเพียงรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เครื่องยนต์ไฮโดรเจนเท่านั้น อาจฟังดูโหดเกินไป แต่กฎหมายใหม่ที่เสนอนี้อนุญาตให้คนที่มีรถยนต์อยู่ก่อนประกาศใช้กฎหมายสามารถใช้รถคันเดิมต่อไปได้ 

 

 

Sponsored Ad

 

4. ไฟรบวร์ก ประเทศเยอรมนี

    ไฟรบวร์กเป็นเมืองที่มีทางจักรยานรวมระยะทาง 500 กิโลเมตร มีขนส่งระบบรางและระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพและราคาถูก Vauban หมู่บ้านชานเมืองแห่งหนึ่งในไฟรบวร์กห้ามไม่ให้ผู้คนจอดรถใกล้บ้านเรือน และให้เจ้าของจอดรถที่พื้นที่รอบนอกเมือง สำหรับผู้อยู่อาศัยที่ไม่ใช้รถยนต์จะได้รับอัตราค่าเช่าบ้านถูกกว่าคนที่มีรถ รวมถึงได้รับบริการขนส่งสาธารณะฟรี และมีจักรยานให้ใช้ฟรี 

 

 

Sponsored Ad

 

5. โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก

    โคเปนเฮเกนให้ความสำคัญกับจักรยานมากกว่ารถยนต์ และปัจจุบันจำนวนจักรยานมีมากกว่าจำนวนประชากรไปแล้ว แนวคิดการใช้จักรยานนี้ได้ทำเป็นการคิดมูลค่าของจักรยานเทียบกับรถยนต์ โดยการขี่จักรยาน 1 ไมล์ให้มูลค่ากับชุมชนประมาณ 0.42 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การใช้รถยนต์ส่วนตัวระยะทาง 1 ไมล์ให้มูลค่าประมาณ 0.20 ดอลลาร์ นอกจากนี้ เมืองส่วนใหญ่ในเดนมาร์กทยอยหยุดใช้รถยนต์มากว่า 10 ปีแล้ว และมีแผนมุ่งจะเป็นเมือง “carbon neutral” หรือเมืองที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 0 ภายในปี 2025 

 

Sponsored Ad

 

 

6. เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

    เมืองหลวงของฟินแลนด์มีแผนจะลดรถยนต์ลงอย่างฮวบฮาบโดยการทุ่มเงินลงทุนระบบขนส่งสาธารณะ จัดเก็บค่าธรรมเนียมที่จอดรถสูงขึ้น สนับสนุนการใช้จักรยานและการเดิน มีการแปลงถนนวงแหวนในเมืองชั้นในเป็นที่อยู่อาศัยและพื้นที่การเดิน และมีไอเดียจะทำให้ระบบขนส่งสาธารณะมีประสิทธิภาพดีมากจนไม่มีใครต้องการใช้รถยนต์ส่วนตัวภายในปี 2050 

Sponsored Ad

 

7. กอริติบา ประเทศบราซิล

    เมืองในตอนใต้ของประเทศบราซิลที่มีประชากร 2 ล้านคน เป็นเมืองที่มีระบบรถโดยสารขนาดใหญ่และราคาถูกที่สุดในโลก ประชากรเกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ของเมืองไปทำงานโดยการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ผลที่ได้คืออากาศที่ไม่มีมลพิษ และไม่มีปัญหารถติด 

 

8. บังคาลอร์ ประเทศอินเดีย

    อีกหนึ่งเมืองใหญ่ในประเทศอินเดีย เมืองนี้กำลังแปลงรถบัส 6,000 คันให้เป็นรถบัสใช้ก๊าซธรรมชาติ ตอนนี้เมืองบังคาลอร์สามารถลดมลพิษทางอากาศได้แล้วประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ในเวลาเพียงไม่กี่ปี และ 1 ใน 4 ของคนที่เคยใช้รถยนต์ส่วนตัวเปลี่ยนไปใช้ขนส่งสาธารณะ

 

 

9. ลอนดอน ประเทศอังกฤษ

    สำหรับการแก้ปัญหาในมหานครลอนดอนและทั่วอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษห้ามขายเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษสำหรับใช้ในครัวเรือนในปี 2022 และรัฐบาลยังอยู่ระหว่างการปรึกษาหารือว่าจะเลิกขายเชื้อเพลิงถ่านหินที่ใช้ในบ้าน และจำกัดการขายไม้เปียกที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงด้วย นอกจากนั้น จะออกมาตรการกำหนดให้ใช้วิธีทำเกษตรที่ปล่อยก๊าซแอมโมเนียลดลง โดยรัฐบาลจะช่วยอุดหนุนการลงทุนเทคโนโลยีที่จำกัดการปล่อยก๊าซแอมโมเนียได้ 

 

10. มาดริด ประเทศสเปน

    รัฐบาลสเปนเพิ่งออกมาตรการจำกัดรถยนต์ที่จะวิ่งเข้าไปในเขตควบคุมคุณภาพอากาศย่านใจกลางกรุงมาดริด เมื่อปลายปี 2018 ที่ผ่านมา และกระตุ้นให้ประชาชนใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะมากขึ้น โดยหวังว่ามาตรการนี้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ 40 เปอร์เซ็นต์ สำหรับรถยนต์ที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปในเขตใจกลางเมืองได้ต้องผ่านการตรวจวัดการปล่อยไอเสียรถยนต์รุ่นเก่าที่ก่อมลพิษมากจะถูกห้ามขับเข้าไปในเขตควบคุม 

    นี่ก็เป็น 10 เมือง 10 ประเทศที่เคยประสบปัญหาฝุ่นควันพิษ แต่ละประเทศก็จะมีแนวทางในการจัดการ แก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันไป ส่วนในประเทศของเราก็หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดกันต่อไป 

ข้อมูลและภาพจาก kaijeaw

บทความที่คุณอาจสนใจ