เปิดภาพการพรางตัวของ "สไนเปอร์" ที่มองหาจนปวดตา ก็ยังหาไม่เจอ!

คอมเมนต์:

โห! ต้องตั้งใจดูถึงจะมองเห็น สุดยอด ทำได้ไงเนี่ย...

        มาทดสอบสายตากัน ว่าคุณจะตาดีแค่ไหน..สไนเปอร์ (Sniper) หากแปลเป็นภาษาไทยก็คือ "พลซุ่มยิง" หมายถึง ผู้ที่ถูกฝึกฝนมาอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญในการยิงปืนระยะไกล โดยทำหน้าที่ยิงเพื่อหวังผลในการจำกัดการเคลื่อนไหวของข้าศึกจากระยะไกล รวมถึงต้องมีการอำพรางตัวเพื่อไม่ให้ข้าศึกรู้ตัวระหว่างซุ่มยิงอีกด้วย ซึ่ง พลซุ่มยิง มักจะต้องทำงานควบคู่กันกับ พลชี้เป้า หรือ สปอตเตอร์ (Spotter) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการปฏิบัติงาน

        เนื่องจากสไนเปอร์มีหน้าที่ซุ่มยิงศัตรู ดังนั้นนอกจากฝีมือการยิงปืนต้องแม่นมากแล้ว ยังต้องรู้จักซ่อนและอำพรางตัวราวกับล่องหนได้อีกด้วย และนี่คือ 13 ภาพจุดซุ่มยิง การพรางตัวของสไนเปอร์ที่แนบเนียนจนหลายคนถึงกับหาไม่เจอแน่นอน เพราะแต่ละภาพนั้นเป็นเหมือนภาพถ่ายธรรมชาติธรรมดา แต่แท้ที่จริงแล้วมีสไนเปอร์พรางตัวอยู่ รับรองว่ามองจนปวดหัวก็ยังหาไม่เจอแน่นอน…
        จุดซุ่มยิงที่ 1.

 

Sponsored Ad

 

        ข้างป่ากระถินแบบนี้ เดินไปยืนยิงกระต่ายวันหลังระวังดีๆ เห็นรึยัง.!??

 

.

 

Sponsored Ad

 

        จุดซุ่มยิงที่ 2. 

        ดงเห็ดอันเขียวขจี ก็มีอันตรายแฝงอยู่ เห็นเขามั๊ย!??

 

 

Sponsored Ad

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 3. 

        ตามซักปรักหักพัง ยังแฝงตัวได้เนียนๆ เห็นรึยัง!??

 

Sponsored Ad

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 4. 

        เนินเขาโล่งๆแบบนี้ ยังมีอีก เห็นเรามั๊ย!??

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 5. 

        ทุ่งหญ้าสะวันน่าอันแห้งแล้ง แถมโล่งแจ้งแบบนี้ ยังซ่อนได้ซะมิด!

 

Sponsored Ad

 

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 6. 

        ถ้าใครเห็นเขา เรายอมคุณจริงๆ เนียนโคตรๆ ไม่มีทางเห็น!

 

 

Sponsored Ad

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 7. 

        เนินโล่งๆแบบนี้ ปลอดภัยเห็นๆ ลาดตระเวนเข้าไปเลย 555+

 

Sponsored Ad

.

        จุดซุ่มยิงที่ 8. 

        ระวังพุ่มไม้นะ..แต่เดี๋ยวก่อน นายเกือบเหยียบมือเราแล้ว..55+

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 9.

        หินก็คม หมอกก็หนา..หาเจอมั๊ย!??

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 10. 

        ฝันไปเถอะ ไม่มีทางเห็นพวกเรา!?

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 11. 

        ระวังบนต้นไม้นะ..555+

 

.

        จุดซุ่มยิงที่ 12. 

        งั้นไม่เข้าร่มก็ได้ เดินอ้อมๆดูก่อนซิ..! ไม่รอดอยู่ดี 555+

 

.

        และ จุดซุ่มยิงที่ 13. 

        ระวังแอบหลบตามหลังต้นไม้นะ..แต่นายคิดผิดแล้ว..555+

 

.

        ข้อมูลน่ารู้ สำหรับผู้ที่จะเข้าคัดเลือกเป็นสไนเปอร์ได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติพิเศษตามระเบียบราชการ สนาม 23 -10 การฝึกสไนเปอร์  (FM-23 -10 Sniper Training) ของกองทัพบกสหรัฐฯ โดยมีแนวทางการคัดเลือก 6 ข้อ ดังนี้
        1. แม่นปืน  เพราะการยิงปืนคือเป้าหมายหลักของหน้าที่สไนเปอร์ อีกทั้งถ้าหากเคยผ่านการแข่งขันยิงปืน หรือเคยล่าสัตว์มาก่อน ก็จะเป็นคุณสมบัติที่ได้เปรียบในการพิจารณา
        2. ไม่ผิดปกติทางสายตาและการมองเห็น  โดยจะต้องไม่ใส่แว่นสายตา เนื่องจากเป็นการเสี่ยงต่อความผิดพลาดหากมีการชำรุดหรือสูญหายของแว่นสายตา ในทีนี้รวมไปถึงจะต้องไม่ตาบอดสีอีกด้วย เพราะอาจจะแยกเป้าหมายผิดได้
         3. สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพื่อการมีพละกำลังในการปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยหากเคยเป็นนักกีฬามาก่อนจะได้รับพิจารณาเป็นพิเศษ
        4. ไม่สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดความผิดพลาดหลายอย่างได้ง่าย เช่น ควันของบุหรี่จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามมองเห็นการซุ่มยิง อีกทั้งการสูบบุหรี่ก็จะทำให้ประสิทธิภาพในการยิงลดลงด้วย
        5. มีความมั่นคงในอารมณ์สูง เนื่องจากการปฏิบัติงานจริงนั้น มีภาวะกดดันต่าง ๆ สูง การทำใจให้มั่นคง จะทำให้มีสมาธิในการลั่นไก ในเวลาและสถานที่ที่เหมาะสม
        6. สติปัญญาดี เพราะผู้ที่จะเข้ารับการฝึกฝนจะต้องเกี่ยวข้องกับขีปนาวุธหลายอย่างในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการปรับแต่งอุปกรณ์ช่วยเล็ง การใช้วิทยุสื่อสาร การตรวจการ การปรับการยิงเครื่องยิงลูกระเบิดและปืนใหญ่ รวมถึงการเดินแผนที่และเข็มทิศ อีกทั้งยังรวบรวมและรายงานข่าวสาร รวมถึงการพิสูจน์ฝ่าย และอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วย หากมีสติปัญญาและไหวพริบดีจะทำให้เข้าใจได้ง่าย

ซึ่งหลักการของการซุ่มยิงจะมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก คือ
        ขั้นที่ 1 การแทรกซึม
        ถือเป็นการปฏิบัติที่มีความสำคัญกับภารกิจอย่างมาก เนื่องจากหากถูกตรวจพบก็จะทำให้การปฏิบัติภารกิจล้มเหลว และก่อให้เกิดอันตรายกับสไนเปอร์ด้วย โดยจะต้องมีการวางแผนที่จะแทรกซึมอย่างรัดกุม เช่น มีการลวงข่าว อาศัยความเร็ว ความคล่องตัว และการพรางตัว โดยการแทรกซึมนั้นสามารถแยกออกได้ 3 รูปแบบ คือ การแทรกซึมทางอากาศ, การแทรกซึมทางบก, และการแทรกซึมสะเทินน้ำทะเทินบก
        ขั้นที่ 2 การปฏิบัติต่อเป้าหมาย
        ขั้นตอนนี้สามารถแบ่งย่อย ๆ ออกเป็น การเคลื่อนที่เข้าหาเป้าหมาย, การเลือกจุดวางตัว, การวางตัวและตรวจการณ์, การรายงาน และการถอนตัวออกจากจุดวางตัว
        ขั้นที่ 3 การถอนตัว
        การถอนตัว สามารถกระทำได้โดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางยานยนต์ นอกจากนี้ ซึ่งสไนเปอร์ จะต้องเตรียมการในเรื่องของ การหลบหลีกและหลีกหนี (Evasion and Escape) ไว้ด้วย เมื่อถูกไล่ตามจากฝ่ายตรงข้าม
        ในอดีตการใช้ชุดซุ่มยิงลาดตระเวน มีประโยชน์มากในการจำกัดการเคลื่อนไหว หรือการปฏิบัติการของข้าศึก ชุดซุ่มยิงลาดตระเวน 1 ชุด สามารถที่จะหยุดการเคลื่อนที่ของทหารได้ถึงหนึ่งกองพลเลยทีเดียว
        รู้จักกับสไนเปอร์แล้ว ก็มาทำความรู้จักกับ  ปืนไรเฟิล (Rifle) ที่มีชื่อเรียกในภาษาไทยว่า ปืนเล็กยาว กันต่อเลยค่ะ
        ปืนไรเฟิล หรือ อาวุธซุ่มยิงคู่กายของสไนเปอร์ ถูกออกแบบมาให้ยิงด้วยการประทับไหล่ ภายในลำกล้องมีการเซาะให้เป็นสันเกลียว (Land) และร่องเกลียว (Groove) ซึ่งสันเกลียวจะสัมผัสกับหัวกระสุนและรีดหัวกระสุนไปตามสันเกลียวโดยหมุนควงรอบตัวเอง เพื่อให้หัวกระสุนไม่กลับหัวกลางอากาศ และเพิ่มความแม่นยำของอานุภาพในการสังหาร เปรียบเสมือนกับการขว้างลูกบอลในกีฬาอเมริกันฟุตบอล หรือ กีฬารักบี้
        โดยคำว่า ไรเฟิล (Rifle) มาจาก Rifling ที่แปลว่าการทำให้เป็นร่อง นิยมใช้ในราชการสงคราม การล่าสัตว์ หรือกีฬายิงปืน โดยปืนไรเฟิลนั้นมีด้วยกันหลายรูปแบบ เพื่อนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ต่างกันไป

ข้อมูลและภาพจาก meesara

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ