คิดว่ามีประโยชน์! หนุ่มวัย 21 "กินผลไม้" เป็นมื้อเย็นติดต่อกัน 1 เดือน จู่ๆมึนหัว-ปากแห้ง จนถูกจับส่งรพ.

คอมเมนต์:

โอย....ไม่เคยรู้มาก่อนเลย

        การทานผลไม้เยอะๆ นั้นดีต่อสุขภาพ แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปอาจเป็นอันตรายได้! 

        ชายหนุ่มคนหนึ่งทานผลไม้เป็นอาหารเย็นติดต่อกันนาน 1 เดือน นึกไม่ถึงว่าเขาจะป่วย จนถูกส่งห้องฉุกเฉิน คุณหมอเตือนว่ากินผลไม้ก็ต้องมีขอบเขต

 

Sponsored Ad

 

        จากการรายงานของ Liaoning Wanbao มีชายวัย 21 ปีคนหนึ่งใช้ชีวิตลำพังในหางโจว ประเทศจีน มื้อเช้ากับมื้อกลางวันเขาจะกินอาหารที่บริษัท แต่ตอนเย็นพอกลับบ้านก็ขี้เกียจทำอาหาร และชอบกินผลไม้เป็นทุนเดิม รู้สึกว่าผลไม้มีประโยชน์ ก็เลยรับประทานผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงเป็นมื้อเย็นแทน

 

Sponsored Ad

 

        นึกไม่ถึงว่าผ่านไป 1 เดือน เขาก็เริ่มมีอาการมึนหัว ปากแห้ง คลื่นไส้ หลังถูกส่งไปห้องฉุกเฉิน คุณหมอก็พบว่าเลือดเขามีน้ำตาลถึง 79.98mol/l สูงกว่าคนทั่วไป 10 เท่า ค่า pH ของเลือดสูงถึง 7.05 เป็นกรดอย่างสูง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น “ภาวะคิโตซิส (Diabetic Ketoacidosis)” ซึ่งเป็นเบาหวานชนิดหนึ่ง และรีบส่งชายคนนั้นไปยังแผนกผู้ป่วยหนักทันที

        จริงๆ แล้วเบาหวานชนิดนี้มีอาการรุนแรงถึงชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและเหมาะสมมีโอกาสเสียชีวิต 1-4% คุณหมออธิบายว่า เนื่องจากชายหนุ่มทานผลไม้แทนอาหารเย็น ทำให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ บวกกับผลไม้ที่เขารับประทานเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง  น้ำตาลจากผลไม้ที่เขากินหนึ่งมื้อสูงกว่าในอาหารปกติมาก จึงทำให้เกิดเป็นภาวะคิโตซิส ขอแนะนำให้ประชาชนเวลากินผลไม้ต้องมีขีดจำกัด และไม่แนะนำให้รับประทานผลไม้แทนอาหารมื้อหลัก โชคดีที่ไปโรงพยาบาลทันเวลา หลังผ่านไป 3 วันอาการก็เริ่มคงที่ สามารถย้ายไปห้องผู้ป่วยทั่วไปได้

 

Sponsored Ad

 

        นี่ไม่ใช่เคสแรกที่เกิดขึ้นเพราะรับประทานผลไม้แทนอาหารหลัก CNA รายงานว่า เมื่อเดือนสิงหาคม เนื่องจากอากาศร้อนชายชราวัย 76 คนหนึ่งจึงไม่มีความอยากอาหาร ก็เลยรับประทานผลไม้แทนติดต่อกัน 4 วัน ทำให้เขาที่เป็นเบาหวานอยู่แล้วน้ำตาลสูงขึ้นไปอีก ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นสัปดาห์ถึงควบคุมได้

 

Sponsored Ad

 

        คนยุคใหม่เน้นเรื่องความสมดุลทางโภชนาการ และบางคนชอบทาน “โฮลวีท” แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ทุกคนเหมาะที่จะกิน ถ้าคุณมีแผลในกระเพาะอาหาร เป็นภูมิแพ้ หรือเป็นโรคไตควรจะรับประทานให้น้อยลง นอกจากนี้นมยังมีทั้งแบบมีไขมันและไขมันต่ำ สรุปแล้วแบบไหนดีกว่า.. มาดูกัน!

        คนไม่น้อยที่ชอบดื่มนมเป็นมื้อเช้า หรือกินลาเต้ใส่นมที่นอกจากจะทำให้รู้สึกอิ่มแล้ว ยังทำให้ตื่นตัว ในเนตยังเคยแชร์กันว่าการดื่มนมมีไขมันช่วยลดน้ำหนัก แต่นักโภชนาการบอกว่า เป็นความเข้าใจผิด

        เพราะว่านมต้องผ่านกระบวนการผลิต จะถูกปั่นแยก ครีมเบากว่าจะลอยขึ้นด้านบน นมหนักกว่าจะอยู่ข้างล่าง ซึ่งในนมไขมันต่ำ หรือไขมันปกติ จะมีไขมันแตกต่างกันไป แน่นอนว่าแบบมีไขมัน ไขมันจะเยอะกว่า แต่สรุปแล้วดื่มชนิดไหนดีกว่ากัน ซึ่งจริงๆ แล้วต่างกันไม่มาก เนื่องจากในนม 240 มิลลิลิตร จะมีไขมันแตกต่างอย่างมากเพียง 7 กรัม ซึ่งอย่างมากคือ 60 กิโลแคลอรี บางคนอาจจะรู้สึกว่านมไขมันต่ำไม่อร่อย แบบมีไขมันก็ทำให้อ้วนเลยไม่ดื่ม แต่คุณหมอแนะนำ คนสุขภาพแข็งแรงทั่วไปเหมาะกับการดื่มนมมีไขมันปกติ

 

Sponsored Ad

 

        นักโภชนาการ : “ถ้าคุณกำลังควบคุมน้ำหนัก แล้วคุณเลือกแบบมีรสชาตินู้นนี้ หรือแบบมีน้ำตาล ก็จะทำให้อ้วน” และสำหรับคนไทยแล้ว ปริมาณการบริโภคนมต่ำมาก

        ปัจจุบันนี้ผู้คนนิยมรับประทานธัญพืช ข้าวโอ๊ต หรือโพลีแซคคาไรด์ที่ไม่ใช่แป้ง (non‐starch polysaccharides: NSP) มากขึ้นเรื่อยๆ ดูจากคุณค่าทางอาหารแล้ว ธัญพืชมีเส้นใยและสารอาหารสูง แต่ไม่ได้เหมาะสมกับคนทุกคน

 

Sponsored Ad

 

        คุณหมอแนะนำว่าถ้ามีแผลในกระเพาะอาหาร อาหารที่มีกากใยสูง จะไปเสียดสีกับบาดแผล ทำให้ยากต่อการรักษา และคนที่เป็นเบาหวาน แม้ว่าจะกินได้ แต่ไตก็จะทำงานหนักมาก หรือโปรตีนจากธัญพืชชนิดพิเศษ ผู้คนที่แพ้กลูเตนชนิดต่างๆ ก็ขอแนะนำให้ควบคุมปริมาณการรับประทาน หลีกเลี่ยงการคิดว่าธัญพืชดีต่อสุขภาพ แต่จริงแล้วทำให้ร่างกายแย่ลงเรื่อยๆ และทำให้อาหารที่เดิมเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ กลายเป็นฆาตกรล่องหนที่ร้ายกาจ

ที่มา : news.ebc.net.tw

แปลและเรียบเรียงโดย โลกของโฮ่ง

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ