เปิดสูตรเลือกตั้ง! "สุดารัตน์" เตือน กกต. คำนวณ ส.ส. ห้ามขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้โปร่งใส และตรวจสอบได้

คอมเมนต์:

เปิดสูตรเลือกตั้ง ปี’62 “หนึ่งคะแนน” มีค่าได้ถึง 3"สุดารัตน์" เตือน กกต. คำนวณ ส.ส. ห้ามขัดรัฐธรรมนูญ ขอให้โปร่งใส และตรวจสอบได้

        "คุณหญิงสุดารัตน์" เตือน กกต. คำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ห้ามขัดรัฐธรรมนูญ โปร่งใส และตรวจสอบได้

        คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้ง และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย เตือนคณะกรรมการการเลือกตั้งในการคำนวณจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อว่า การดำเนินการใด ๆ ของเจ้าหน้าที่รัฐนั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย และขั้นตอนการปฏิบัติอย่างชัดเจน โปร่งใสและตรวจสอบได้ 

 

Sponsored Ad

 

        โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะละเมิดรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะการคำนวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ในรัฐธรรมนูญมาตรา 91(4) ได้ระบุไว้ชัดเจนว่า “ให้นำจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้งหมด ไปจัดสรรให้พรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.เขต น้อยกว่า ส.ส.พึงมี ตาม ม.91(2) ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีได้ตาม ม.91(2)” ดังนั้น ไม่ว่า กกต.จะพยายามใช้วิธีการ หรือตามการสั่งการของใครมาใช้ในการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ออกมาแล้ว ต้องนำกลับไปเทียบกับรัฐธรรมนูญดูด้วยว่า ผลลัพธ์ที่ได้นั้นขัดต่อถ้อยคำในรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

Sponsored Ad

 


        คุณหญิงสุดารัตน์ ยังย้ำด้วยว่า เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่า "การจัดสรร ส.ส.ให้พรรคการเมือง ต้องไม่มีผลให้พรรคฯใดมี ส.ส.เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ตาม ม.91(2) ดังนั้น ส.ส.ที่แต่ละพรรคการเมือง จะได้รับ จะมีมากกว่าจำนวน ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91(2) ที่กำหนดจำนวนพึงมีไว้จนถึงทศนิยม 4 หลักไม่ได้ หากมีผลลัพธ์ใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณจากกฎหมายลูกฉบับใด และฟังวิธีการจากผู้ใดมา ก็ไม่อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้"

 

Sponsored Ad

 

        คุณหญิงสุดารัตน์ ยังแนะนำ กกต.ว่า ยิ่งเกิดวิกฤตความเชื่อมั่นต่อ กกต. มากเท่าไหร่ การดำเนินการของกกต. ยิ่งต้องรัดกุม และปฏิบัติโดยรอบคอบไม่ขัดต่อข้อกฎหมาย โดยเฉพาะสิ่งที่ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พร้อมเรียกร้องให้ ยึดหลักการ และต้องไม่ยอมกระทำการใด ๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ เพราะ การเลือกตั้งครั้งนี้ คือความหวังของคนทั้งประเทศ ต้องไม่ทำให้คนไทยทั้งประเทศผิดหวัง

        เปิดสูตรเลือกตั้ง ปี’62 “หนึ่งคะแนน” มีค่าได้ถึง 3

 

Sponsored Ad

 

        “ไม่ชนะในระดับเขต ก็ใช่ว่า จะไม่ได้ ส.ส.” เพราะระบบจัดสรรปันส่วนผสม ที่ให้ประชาชนกาบัตรใบเดียว แต่เป็น “ส.ส. สองบัญชี” จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองชนิดพรรคใหญ่ก็เอาทุกเม็ด พรรคเล็กก็ไม่ยอมถอย

        การเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2562 มีสิ่งที่แตกต่างกับการเลือกตั้งครั้งหลังสุด เมื่อปี 2554 หลายเรื่อง ส่วนสำคัญคือ การเลือกตั้งครั้งนี้ใช้ “บัตรเลือกตั้งใบเดียว” แต่การเลือกของหนึ่งคะแนนนี้ สามารถได้ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หรือ ปาร์ตี้ลิสต์

 

Sponsored Ad

 

        นั่นคือ “ทุกคะแนน” มีค่า ไม่มีเสียงตกน้ำ!!

        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มี ส.ส. จำนวน 500 คน โดยเป็น ส.ส. เขต จำนวน 350 เขต และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ อีก 150 คน โดยใช้คะแนนจากการเลือก ส.ส. เขตมาคำนวน ซึ่งการคำนวณจำนวน ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ที่แต่ละพรรคพึงจะได้รับนั้น มีสูตรการคำนวน ที่การเลือกตั้งด้วยระบบ “จัดสรรปันส่วนผสม” จะทำให้เกิดการแข่งขันทางการเมืองอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

        ดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า อธิบายการคำนวณคิด ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ด้วยสูตร “จัดสรรปันส่วนผสม” ว่า

 

Sponsored Ad

 

        นำคะแนนของผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศมารวมกัน ไม่นับบัตรเสีย ไม่นับคะแนนโหวตโน คือ คะแนนรวมของพรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครปาร์ตี้ลิสต์ สมมุติว่า คือ 40 ล้านคะแนน จากนั้นนำมาหารด้วยจำนวน ส.ส.ทั้งหมด คือ 500 คน จะได้ประมาณ 70,000-80,000 คะแนน เท่ากับ ส.ส. ที่แต่ละพรรคพึงได้รับ 1 คน

        หลักการของ “จัดสรรปันส่วนผสม” คือ จำนวน ส.ส.ต้องสะท้อนคะแนนนิยม คะแนนนิยมมากควรได้ ส.ส. มาก แต่ถ้าคุณได้ในสิ่งที่คุณควรได้รับแล้ว หรือได้มากกว่าสิ่งที่ควรได้รับ เท่ากับจบ!!

Sponsored Ad

ยกตัวอย่างเช่น กรณี พรรค ก (1)

        ได้คะแนนรวมจาก ส.ส.เขต 16 ล้านคะแนน

        นำ 80,000 จากการคำนวณข้างต้นไปหาร 16 ล้านคะแนน

        พรรค ก จะได้จำนวน ส.ส.ที่พึงได้รับ คือ 200 คน

        สมมุติว่า พรรค ก ได้ ส.ส.เขต 200 คน (16 ล้านคะแนน)

        เมื่อเข้าสูตรการคำนวณ พรรค ก จะไม่ได้รับการเติม ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ เพราะสูตรนี้ถือว่า พรรค ก ได้ในสิ่งที่ควรได้แล้ว

กรณีพรรค ก (2)

        ได้คะแนนรวมจาก ส.ส.เขต 17,600,000 ล้านคะแนน

        นำ 80,000 จากการคำนวณข้างต้นไปหาร 17,600,000 ล้านคะแนน

        พรรค ก จะได้จำนวน ส.ส.ที่พึงได้รับ คือ 200 คน

        สมมุติว่า พรรค ก ได้ ส.ส.เขต 220 คน ( ล้านคะแนน)

        เมื่อเข้าสูตรการคำนวณ พรรค ก กรณีที่ 1 และ กรณีที่ 2 จะไม่ได้รับการเติม ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ เพราะสูตรนี้ถือว่า พรรค ก ได้ในสิ่งที่ควรได้แล้ว

กรณีของ พรรค ก (3)

        ได้คะแนนรวมจาก ส.ส.เขต 8,000,000 ล้านคะแนน

        นำ 80,000 มาหาร

        พรรค ข จะได้จำนวน ส.ส.ที่พึงได้รับ คือ 180  คน

        สมมุติว่า พรรค ข ได้ ส.ส.เขต 100 คน

        เมื่อเข้าสูตรการคำนวณ พรรค ข จะได้รับการเติมเต็ม ส.ส.ที่พึงได้รับ 20 คน


        แม้พรรคการเมืองแพ้การเลือกตั้งที่เขตทั้งหมดเลย แต่อาจได้ ส.ส. ถ้าสามารถรวบรวมคะแนนมาถึง 80,000 คะแนน (ตัวเลขโดยประมาณการ)

        อย่างไรก็ตาม ในกรณีหากพรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งสูงสุดได้ ส.ส.เขตถึง 250 คน แม้ไม่ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์เช่นเดิม แต่การได้ที่นั่ง ส.ส.เขตยิ่งมาก ก็จะมีผลให้จำนวน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ที่พรรคลำดับถัดมาลดลงไปด้วย

        ดร.สติธร มั่นใจว่า การเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ จะเกิดการแข่งขันทางการเมืองอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สู้กัน เต็มที่ เดิมแต่ละพรรคมีฐานเสียง จะสู้เฉพาะกันในพื้นที่ฐานเสียงตัวเอง แต่ครั้งนี้สู้ไม่ไหวก็จะสู้ เก็บได้เขตละ 500 คะแนนก็ยังดี จึงเห็นการเสนอตัว พรรคการเมือง มาลงแข่งเยอะขึ้น เพราะตัวเลข 80,000 นี้มันยวนใจ

        พรรคที่เคยแข่งกันจะแข่งมากขึ้น แพ้ไม่เป็น พรรคใหญ่เอาทุกเม็ด ถึงเกิดคำว่า พลังดูด ดูด…ผู้สมัคร เพราะคะแนนของผู้สมัคร แม้ไม่ชนะเขต แต่ถ้าได้ที่สัก 40,000 คะแนน หรือ 30,000 คะแนน นำมารวมกันหลายๆ เขต ก็จะแปลงเป็น ส.ส. ของพรรคที่เข้าไปนั่งในสภาได้ ขณะที่ พรรคเล็กก็ดูมีความหวัง ถ้าเก็บคะแนนที่เขตได้เขตละแค่ 200 คะแนน หลายๆ เขตก็อาจลุ้นได้ที่นั่ง ส.ส. นั่นเอง

        แต่สำหรับ “พรรคเล็ก” ที่ดูเหมือนการใช้ระบบจัดสรรปันส่วนผสม จะเอื้อให้พรรคเล็ก มีโอกาสได้ ส.ส. หรือได้เข้าไปมีสิทธิ์มีเสียงในสภามากขึ้น แต่ถ้าดูจากสถิติการเลือกตั้งที่ผ่านมาในปี 2554 มีพรรค 40 พรรค พรรคที่ได้คะแนนน้อยสุดคือได้ 2,000 คะแนน

        ปี 2554 มีพรรคเข้าสภาทั้งหมด 11 พรรค เมื่อจับสูตร “จัดสรรปันส่วนผสม” ไปคำนวนทาบกับผลการเลือกตั้งปี 54 ปรากฏว่า เพิ่มมา 16 พรรค ที่ได้คะแนน 70,000 คะแนนขึ้นไป หรือได้ ส.ส.จากพรรคใหม่เพิ่มมา 5 คน สุดท้ายการเมือง ก็ไปอยู่ที่พรรคใหญ่ไม่เกิน 8 พรรค

        ดร.สติธร บอกด้วยว่า การเลือกตั้งแบบสองบัตร ประชาชนเคยเลือกได้แบบรักพี่เสียดายน้อย เช่น ชอบผู้สมัครคนนี้ แต่อีกพรรคกระแสแรงกว่า ก็กาให้คนละพรรค แต่ครั้งนี้ไม่ใช่ และยังไม่รู้ว่าประชาชนจะเลือกเพราะกระแสพรรค หรือยังคงเลือก ส.ส.เขตที่ตัวบุคคล จะรู้ได้ก็จนกว่าผลการเลือกตั้งจะประกาศออกมา และมองว่า บัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ที่แต่ละพรรคจะเสนอ จะเป็นตัวแปรสำคัญของกระแสพรรคการเมือง

ข้อควรระวัง “บัตรเลือกตั้งใบเดียว”

        นอกจากนี้ การมีบัตรเลือกตั้งใบเดียว ประชาชนต้องละเอียดรอบคอบก่อนที่จะกาบัตรทุกครั้ง เพราะเบอร์ของ ส.ส. จะอยู่ที่ ส.ส.เขต ใครไปสมัครที่เขตก่อนจะได้เบอร์ลำดับแรก และทุกเขตจะแตกต่างกัน หมายความว่า ต้องจำว่า ผู้สมัครที่จะเลือกเบอร์อะไร ไม่เช่นนั้น ถ้าจำผิดเขต อาจเป็นคะแนนของพรรคการเมืองอื่นที่เราไม่ได้ตั้งใจจะเลือก

        “ต่อไปนี้บัตรเลือกตั้งต้องดูให้ดีว่า คนที่เราจะเลือกคือใคร เบอร์อะไร ถ้ากกต.ใส่ชื่อผู้สมัครได้ก็จะดี แต่ถ้ามีเฉพาะเบอร์จะมีโอกาสกาผิด หากบัตรเลือกตั้งพิมพ์ชื่อผู้สมัคร ชื่อพรรค และเบอร์ด้วย ก็จะใช้งบมากในการพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ก็ต้องดูว่า ประหยัดแต่คนอาจจะงง หรือจะสิ้นเปลืองหน่อย เพราะมีสิทธิ์มั่วสูงมาก”

        สิ่งที่การเลือกตั้งปี 2562 จะแตกต่างกับการเลือกตั้งปี 2554 อีกอย่างคือ “คะแนนโหวตโน” หรือ ไม่ประสงค์จะลงคะแนนเสียง มีความสำคัญมาก

        กฎหมายกำหนดว่า ผู้ชนะการเลือกตั้งในเขต ต้องมีคะแนนมากกว่าคะแนนโหวตโน

        แต่ถ้าผู้ชนะได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนโหวตโน คือ ผู้สมัครทั้งหมดกลับบ้านไปเลย พรรคการเมืองต้องส่งคนอื่นมาใหม่ และจัดการเลือกตั้งใหม่ เพราะประชาชนไม่เลือก ดังนั้น คะแนนโหวตโน ในการเลือกตั้งครั้งนี้จึงสำคัญมากขึ้น

ข้อมูลและภาพ จาก workpointnews / sanook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ