ฮีโร่มาช่วยแล้ว "ซีอีโอ" รร.การบินกรุงเทพ อาสาระดมเครื่องบินพ่นละอองน้ำลดฝุ่นพิษ PM 2.5 ให้ฟรี

คอมเมนต์:

ฮีโร่มาช่วยแล้ว "ซีอีโอ" รร.การบินกรุงเทพ อาสาระดมเครื่องบินพ่นละอองน้ำลดฝุ่นพิษ PM 2.5 ให้ฟรี

    ซีอีโอ รร.การบินกรุงเทพ อาสาระดมเครื่องบิน 47 ลำ บินปล่อยละอองน้ำลดฝุ่น PM2.5 ให้ฟรี เตรียมคุยรายละเอียด ผู้ว่าฯ กทม. 

    มีรายงานว่า รศ. ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ว่า ทาง ซีอีโอ โรงเรียนการบินกรุงเทพ (BAC) เสนอตัวบินให้ฟรีระดมเครื่องบิน 47 ลำ ขนน้ำ 140 กิโลกรัมต่อลำ 

 

Sponsored Ad

 

    บินเกาะหมู่หน้ากระดาน 10-20 ลำ เพื่อปล่อยละอองน้ำนาน 20 นาที ระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ทางกว้าง 1 กิโลเมตร โดยวันหนึ่งจะสามารถบินได้ 4-5 เที่ยว ขอแค่น้ำและอุปกรณ์ใส่น้ำ พร้อมระดมสมองทีมครูการบิน ทั้ง 111 คน เพื่อช่วยกู้วิกฤต ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน PM2.5 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 

 

Sponsored Ad

 

    และล่าสุด (31 มกราคม 2562) เฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ได้โพสต์ความคืบหน้าอีกครั้งว่า ทางโรงเรียนการบินกรุงเทพ (BAC) ได้รับการติดต่อจากทางกรุงเทพมหานครแล้ว โดยในช่วงเวลา 14.00 น. วันนี้ (31 มกราคม) พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร นัดทุกฝ่ายเข้าพูดคุยกับกัปตันปิยะ CEO ของโรงเรียนการบินกรุงเทพ BAC เพื่อที่จะปฏิบัติการนำเครื่องบินกว่า 47 ลำขึ้นบิน เพื่อฉีดละอองน้ำที่มีขนาดเล็ก ในบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปฏิบัติการบรรเทาวิกฤต PM2.5 ดังข้อมูลต่อไปนี้ 

 

Sponsored Ad

 

    "อัปเดตล่าสุดขณะนี้กัปตันปิยะ CEO โรงเรียนการบินกรุงเทพ หรือ BAC บริษัท บางกอกเอวิเอชั่นเซ็นเตอร์ จำกัด โทร. 0-2900-4644 ได้ติดต่อประสานงานกับ ดร.เกรียงพล เลขานุการของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งคิดว่าจะมีปฏิบัติการเชิงรุกโดยการใช้เครื่องบินของโรงเรียนการบินออกมาช่วยบรรเทาสถานการณ์วิกฤต PM 2.5 ครับ

     นี่คือข้อความที่กัปตันปิยะได้ส่งถึงครูโรงเรียนการบิน

เรียนครูการบินทุกท่านครับ
    จากวิกฤต PM2.5 ผมขออนุญาตทีมครูการบินทั้ง 111 ท่านระดมสมองกันเพื่อกอบกู้วิกฤตในครั้งนี้เท่าที่กำลังของโรงเรียนการบิน BAC เราจะทำได้นะครับ ในเบื้องต้นผมขออนุญาตแต่งตั้งครูโชคเป็นประธานในภารกิจนี้โดยมีครูหน่อยเป็นเลขาฯ เพื่อทำแผนให้สอดคล้องกับภารกิจนะครับ

ผมแบ่งเป็นประเด็นได้ดังนี้ครับ
    1. การวางแผนบินหมู่ซึ่งเราน่าจะบินเกาะหมู่แบบห่าง ๆ อาจจะห่างกันประมาณสองถึงสามช่วงปีก บินหน้ากระดานกันไป 10 ถึง 20 ลำในคราวเดียว เพื่อให้เกิดความกว้างของการปล่อยละอองน้ำจะมีพื้นที่ครอบคลุมหน้ากระดานประมาณ 1 กิโลเมตร และด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมงจะทำให้น้ำในถัง 140-150 ลิตร ซึ่งปล่อยละอองออกมาสามารถปล่อยได้ประมาณ 20 ถึง 30 นาที เราจะได้ระยะทางในการบินปล่อยละอองน้ำ 40 ถึง 50 กิโลเมตรครับ วงรอบหนึ่งจะกินพื้นที่ในการปล่อยละอองน้ำได้ถึง 50 ตารางกิโลเมตรซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นนัยสำคัญพอสำหรับการเก็บฝุ่นละออง
    2. การพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์การปล่อยละอองน้ำ ในเบื้องต้นเราให้ครูจูเนียร์ทำการศึกษาในเรื่องของเครื่องบินพ่นยาฆ่าแมลงในต่างประเทศ เพราะมีลักษณะการทำงานคล้ายกัน เราอาจจะดัดแปลงและขอความช่วยเหลือจากบริษัทผลิตพัดลมไอน้ำที่มีหัวฉีดละอองไอน้ำ ให้เกิดละอองขนาดเล็กประมาณ 0.3 ไมคอนตามที่ ดร.วีรชัย (อาจารย์ภาคเคมี คณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ให้คำแนะนำว่าละอองน้ำขนาดดังกล่าว จึงจะเป็นประโยชน์ในการจับฝุ่นละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนการติดตั้งถังน้ำเพื่อให้ถูกกฎการบินนั้นกำลังวางแผนและประสานกับทางสำนักงานการบินพลเรือน อาจจะต้องนำเรียน ดร.จุฬา โดยตรงเพื่องานที่กระชับขึ้น
     3. การประสานกับบริษัทวิทยุการบิน เพื่อวางแผนเส้นทางการบินและปล่อยละอองน้ำ เรื่องนี้คงต้องรบกวนทางผู้ว่าฯ กทม. ทำหนังสือร้องขอมาทางเราก่อน เราถึงจะนำเรื่องดังกล่าวหารือกับบริษัทวิทยุการบินและอาจจะต้องถึงหน่วยเกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อขออนุญาตให้ทำการบินเหนือเมืองหลวงได้ แต่อย่างน้อยเส้นทางพระรามสองที่กำลังเกิดวิกฤตหนักที่สุด เป็นเส้นทางที่เราใช้บินไปหัวหินเป็นประจำได้อยู่แล้ว อาจจะเป็นเส้นทางแรกในการทดสอบของเรา โดยมีตัวชี้วัดผลได้ดีคือหลังจากเราลองปฏิบัติดูแล้ว หากค่าของฝุ่นละอองที่วัดได้จากพื้นดินลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เราจะเดินหน้าต่อกับทุกพื้นที่ในกรุงเทพต่อไปครับ 
    ขอขอบพระคุณในการ ให้ความร่วมมือเพื่อชาติในครั้งนี้ด้วยครับ" 

ข้อมูลและภาพจาก เฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong , kapook

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ