สภากาชาดไทย เผย "สิทธิผู้บริจาคโลหิต" ได้รับการยกเว้นค่ารักษาพยาบาล

คอมเมนต์:

ไหน ใครเคยบริจาคมาแล้วบ้าง?

    โลหิต เป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดโลหิตในร่างกาย โดยกำลังสูบฉีดของหัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดโลหิต คือ ไขกระดูก โลหิตแบ่งได้ 2 ส่วน คือ เม็ดโลหิต ซึ่งมี 3 ชนิด คือเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว เกล็ดโลหิต 

    ส่วนที่ 2 คือ พลาสมา (Plasma) คือส่วนที่เป็นของเหลวของโลหิตที่ทำให้เม็ดโลหิตทั้งหลายลอยตัว มีลักษณะเป็นน้ำสีเหลือง

 

Sponsored Ad

 

    ปัจจุบันยังไม่สามารถหาสารประกอบใดที่มาใช้ทดแทนโลหิตได้ดี ฉะนั้นเมื่อยามที่ร่างกายเสียโลหิตจากอุบัติเหตุ ผ่าตัด หรือโรคที่จำเป็นต้องรักษาด้วยโลหิต จึงจำเป็นต้องรับบริจาคโลหิตจากบุคคลหนึ่งเพื่อนำไปให้อีกบุคคลหนึ่ง เพื่อช่วยเหลือชีวิตให้ทันท่วงที

    ความจำเป็นต้องใช้โลหิต โลหิต 77% ที่ได้รับบริจาคถูกนำไปใช้เพื่อทดแทนโลหิตที่สูญเสียไปในภาวะต่างๆ อีก 23 % เป็นการนำโลหิตไปใช้เฉพาะโรคเลือด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย เกล็ดโลหิตต่ำ ฮีโมฟีเลีย เป็นต้น

    ความต้องการโลหิต ปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,800-2,000 ยูนิต เดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 58,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอจ่ายให้กับผู้ป่วย
    ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ โดยแบ่งเป็น หมู่โลหิตที่จำเป็นต้องจัดหาโลหิตเฉลี่ยในแต่ละวัน ดังนี้

 

Sponsored Ad

 

    หมู่ A วันละ 500 ยูนิต
    หมู่ B วันละ 550 ยูนิต
    หมู่ O วันละ 800 ยูนิต
    หมู่ AB วันละ 150 ยูนิต

    การบริจาคโลหิต การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17-18 แก้วน้ำ

    ร่างกายใช้เพียง 15-16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โลหิตสามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้นมาทดแทน

 

Sponsored Ad

 

    ให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ กระบวนการบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น

ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำ บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก (BLOOD BAG) ตั้งแต่ 350-450 มิลลิลิตร (ซี.ซี.) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาค

    น.ท.หญิง พญ.อุบลวัณณ์ จรูญเรืองฤทธิ์ ผอ.ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ในช่วงนี้มีการแชร์ข้อมูลเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลผู้บริจาคโลหิต ที่มีความคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง และเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ขอชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน

 

Sponsored Ad

 

    ดังนี้ กรณีเข้ารับการรักษาใน รพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) การใช้สิทธิรักษาพยาบาลของผู้บริจาคโลหิต เป็นไปตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2558 แบ่งออกเป็น

    ผู้บริจาคโลหิต 1 ครั้ง ขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ ตามสิทธิที่สามารถเบิกได้จากหน่วยงานต้นสังกัดก่อน ส่วนที่เกินสิทธิให้เรียกเก็บ 50 % 

 

Sponsored Ad

 

    ผู้บริจาคโลหิต 18 ครั้ง ขึ้นไป ได้รับการช่วยเหลือค่าห้องและค่าอาหารพิเศษ 50 % ตามอัตราที่กำหนดไว้ สอบถามรายละเอียด ได้ที่ฝ่ายปรับปรุง และพัฒนากฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โทร. 0 2590 1435 

    กรณีเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลในสังกัดสภากาชาดไทย ได้แก่ รพ.จุฬาลงกรณ์ และ รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จ.ชลบุรี แบ่งออกเป็น 
    ผู้บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป เสียค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ไม่รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ หากอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร เสียค่าใช้จ่าย 50 % กรณีผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ ไม่ได้รับการยกเว้น 

 

Sponsored Ad

 

    ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป ได้รับการยกเว้นค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ ไม่รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ หากอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร เสียค่าใช้จ่าย 50 % กรณีผ่าตัดโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ ไม่ได้รับการยกเว้น 

    ทั้งนี้การใช้สิทธิดังกล่าว ผู้บริจาคโลหิตที่มีสิทธิพื้นฐาน เช่น บัตรทอง บัตรข้าราชการ และประกันสังคม ต้องใช้สิทธิ์นั้นก่อน โดยให้นำบัตรประจำตัวของผู้บริจาคโลหิต ขอหนังสือรับรอง ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ส่วนภูมิภาค

Sponsored Ad

    ขอหนังสือรับรองได้ที่ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ เหล่ากาชาดจังหวัด รพ.ประจำจังหวัด โดยหนังสือรับรองใช้ลดหย่อนการรักษาพยาบาลดังกล่าว เป็นครั้งๆไป ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0 2256 4300 ,0 2263 9600-99 ต่อ 1760,1761

    คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

    1.อายุระหว่าง 17 ปี ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุ 17 ปี ไม่ถึง 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง

    2.ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 ปี – 60 ปี และให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และ พยาบาล

    3.ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 60 ปี – 70 ปี แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกตามาอายุ 2 ช่วง ดังนี้
         3.1 การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)

        1) เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี
        2) บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 3 ครั้ง คือทุก 4 เดือน
        3) ตรวจ Complete Blood Count (CBC),Serum Ferritin (SF) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไป และสำหรับแพทย์ใช้ผลการตรวจ SF ในการติดตามและปรับการให้ธาตุเหล็กทดแทน

        3.2 ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 65 ปี จนถึง 70 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)

        1) เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุ มากกว่า 60 ปี จนถึง 65 ปี
        2) บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน
        3) ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือดหรือหน่วยงานรับบริจาคโลหิตซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต
        4) ตรวจ CBC และ SF ปีละ 1 ครั้ง

    ทั้งสองช่วงอายุให้ดูผล hemoglobin จาก CBC ที่เจาะในวันเดียวกันกับที่จะบริจาคโลหิต หรือจากการเจาะปลายนิ้ว ถ้าอยู่ในเกณฑ์กำหนด อนุญาตให้บริจาคโลหิตได้ สำหรับผลการตรวจอื่นๆ ที่ไม่ได้ผลทันที ให้เก็บไว้ประกอบการให้คำปรึกษาหลังจากการบริจาคโลหิตครั้งนี้ ในโอกาสที่มาบริจาคโลหิตครั้งต่อไป หรือแจ้งผลโดยวิธีอื่นๆตามความเหมาะสม ผู้บริจาคโลหิตในช่วงอายุ 60 ปี ถึง 70 ปี ที่บริจาคโลหิตไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดบริจาคทิ้งช่วงเกิน 1 ปี

    ให้เจาะเลือดตรวจตามที่ระบุไว้และนัดให้ผู้บริจาคมาฟังผลเพื่อพิจารณาการรับบริจาคโลหิต ภายใน 1-2 สัปดาห์ และต้องเจาะเลือดจากปลายนิ้วตรวจฮีโมโกลบินซ้ำตามขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต ในวันที่บริจาคโลหิต ผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปีจนถึง 60 ปี ที่ต้องการบริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์/พยาบาล ไม่ควรรับบริจาคโลหิตจากผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่

    4.น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัม ขึ้นไป

    5.สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิต

    6. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต

    7.ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคตับ โรคปอด โรคเลือด โรคมะเร็ง หรือมีภาวะโลหิตออกง่ายและหยุดยาก

    8.ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา

    9.สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมา

    10.น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ

    11.หากรับประทานยาแอสไพริน, ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน

    12.ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรัง, วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ

    13.ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง, ไทรอยด์,โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ

    14.หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ


    15.หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน, ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 7 วัน

    16.ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์

    17.ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี

    18.หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา โดยใช้เครื่อมือร่วมกัน หรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำ อาจติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต จึงควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี

    **แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญ และเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว เว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน

    19.หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี

    20.หากมีประวัติเป็นมาลาเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้

    21.หากเคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตของผู้อื่นที่ประเทศอังกฤษในระหว่างปีพ.ศ.2523-2539 งดรับบริจาคโลหิตถาวร

    22.หากเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษรวมระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539 หรือ เคยพำนักในยุโรปรวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523-ปัจจุบัน งดรับบริจาคโลหิตถาวร

    23.หากเคยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค หรือเคยรับเซรุ่ม ระยะเวลาที่งดรับบริจาคโลหิตขึ้นกับชนิดขอบวัคซีน หรือ เซรุ่ม

    24.สตรีอยู่ระหว่างมีรอบเดือน ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นสุขภาพแข็งแรง มีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคโลหิตได้

    25.ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่างๆ เป็นต้น

ที่มา : ให้ความรู้

บทความที่คุณอาจสนใจ