ยางพาราไทย! เร่งผลิต "ยกทรงยางพารา" ทำหน้ากากอนามัย จีนติดต่อแห่ขอซื้อ

คอมเมนต์:

เร่งผลิต "ยกทรงยางพารา" ทำหน้ากากอนามัย ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก ตัวแทนบริษัทจากประเทศจีน ที่เข้ามาจีนติดต่อขอซื้อและติดตามสินค้าด้วยตัวเอง (รายละเอียดในบทความ)

    สั่งเร่งการผลิตยกทรงยางพารา หลังบริษัทใน กทม. สั่งซื้อนับพันชิ้น หวังนำไปทำเป็นหน้ากากอนามัย ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นภาวะวิกฤตใน กทม. พร้อมต้องส่งขายในตลาดจีน

    สหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก จ.ตรัง นายมนัส หมวดเมือง ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางบ้านหนองครก กล่าวว่า ขณะนี้ทางสหกรณ์ซึ่งรับซื้อน้ำยางสดจากสมาชิกมาผลิตยางแผ่นรมควัน รวมทั้งนำมาต่อยอดทำผลิตภัณฑ์หมอนยางพารา ที่นอนยางพารา และพนักพิงหลัง โดยตลาดส่งออกหลักคือ ประเทศจีน โดยในปีที่ผ่านมายอดการจำหน่ายหมอนยางพารา และที่นอนยางพาราไปประเทศจีนทำรายได้เข้าสหกรณ์รวมจำนวนกว่า 17 ล้านบาท

 

Sponsored Ad

 

    ล่าสุด ทางสหกรณ์ได้ผลิตสินค้าตัวใหม่เพิ่มอีก 1 ชนิด คือ เป็นยกทรงยางพารา เพื่อส่งขายตลาดหลักคือ ประเทศจีน เช่นเดียวกับหมอนยางพารา และที่นอนยางพารา ทั้งนี้ได้มีตัวแทนบริษัทส่งออก และตัวแทนบริษัทที่รับซื้อจากประเทศจีนเดินทางมาติดตามออร์เดอร์ด้วยตนเอง เพื่อให้ได้คุณภาพและจำนวนตามยอดการสั่งซื้อ แต่ขณะเดียวกันได้มีบางบริษัทในกรุงเทพฯ ติดต่อขอสั่งซื้อยกทรงยางพารารวมประมาณ 500–1,000 ชิ้น เพื่อนำไปทำเป็นหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่เป็นปัญหาอยู่ในกรุงเทพมหานครขณะนี้

 

Sponsored Ad

 

    ซึ่งส่วนตัวก็เชื่อว่า รูปแบบยกทรงสามารถปิดครอบจมูกและปากได้ ขณะที่คุณสมบัติพิเศษของชิ้นผลิตภัณฑ์ยกทรงยางพาราซึ่งทำมาจากน้ำยางข้น จะมีความเหนียว หนา นุ่ม ละเอียดมากกว่าผ้ากรองฝุ่นละอองธรรมดา สามารถกรองป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้อย่างแน่นอน โดยขายราคาชิ้นละ 35 บาท ซึ่งขณะนี้ยอดการสั่งซื้อยังคงเข้ามาเพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ทางสหกรณ์มีแม่พิมพ์น้อย ทำให้ผลิตได้แค่วันละประมาณ 1,000 ชิ้นเท่านั้น

 

Sponsored Ad

 

    ขณะที่ตัวแทนบริษัทจากประเทศจีน ที่เข้ามาติดตามสินค้าด้วยตัวเอง กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์จากยางพาราของสหกรณ์บ้านหนองครก ทั้งหมอนยางพารา และที่นอนยางพาราเป็นที่ต้องการสูงมากในประเทศจีน เช่นเดียวกับยกทรงยางพาราต้องการวันละประมาณ 20,000 ชิ้น แต่กำลังการผลิตของสหกรณ์บ้านหนองครกสามารถผลิตได้เพียงแค่ประมาณวันละ 1,000 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งหากมีกำลังการผลิตที่เพียงพอ เชื่อว่าจะสร้างรายได้เข้าสหกรณ์ได้ปีละจำนวนมาก

ข้อมูลและภาพจาก workpointnews

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ