หวังดีหรือแค่เบี่ยงประเด็น? นักวิชาการเผย "คนที่มีอันจะกิน" พึ่งสวัสดิการรัฐมากกว่า "คนยากไร้"

คอมเมนต์:

นักวิชาการเผย "คนที่มีอันจะกิน" พึ่งสวัสดิการรัฐมากกว่า "คนยากไร้"

        เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นที่น่าสนใจในขณะนี้ หลังจากที่ "ดร.เดชรัต สุขกำเนิด" หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลรายจ่ายของภาครัฐการศึกษาและการรักษาพยาบาล และแสดงกราฟวิเคราะห์ความยากจนและเหลื่อมล้ำในสังคมไทย 

        โดย ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ได้ระบุผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว Decharut Sukkumnoed ไว้ว่า...

 

Sponsored Ad

 

        ผมรู้สึกปวดใจทุกครั้ง เวลาฟัง “คนที่มีอันจะกิน” โดยเฉพาะ “ข้าราชการ” บอก (หรือหวัง) ให้คนจนพึ่งตนเอง โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงว่า “ตนเองนั้นพึ่งรัฐบาล” อยู่เท่าไร...

 

Sponsored Ad

 

        ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ปี 2559 ชี้ให้เห็นว่า คนในกลุ่มครัวเรือน 40% ที่มีรายได้ดีที่สุดของประเทศ (พูดแบบภาษาสถิติว่า quintile ที่ 4 และ 5) ได้รับประโยชน์จากรัฐบาลในการศึกษามากกว่าคนอีก 60% ที่จนกว่าตนมาก โดยเฉพาะในระดับมัธยมปลายและอุดมศึกษา (รูปแรก โดยดูตามอายุในแกนนอน) ซึ่งเป็นระดับการศึกษา ที่คนกลุ่มที่มีรายได้น้อยเข้าถึงได้น้อยมาก 

        ส่วนกลุ่มคนจนได้รับประโยชน์จากรัฐบาลมากกว่าในระดับประถมศึกษาและมัธยมต้น เพราะคนรวยส่วนหนึ่งพาลูกหลานเข้าโรงเรียนเอกชนหรือนานาชาติ ยิ่งถ้าเป็นค่ารักษาพยาบาล เราจะเห็นได้เลยว่า คนในกลุ่ม 20% ที่รวยที่สุด หรือ quintile ที่ 5 ได้รับประโยชน์จากค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาลมากกว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับสวัสดิการข้าราชการ และสามารถเข้ารับการรักษาในโรคที่มีความซับซ้อนในการรักษาได้ (โดยเฉพาะในช่วงปลายของชีวิต รูปที่ 2)

 

Sponsored Ad

 

        ในขณะที่คนที่มาจากครัวเรือนที่จน โดยเฉพาะ 20% ที่จนที่สุด ใช้ 30 บาทรักษาทุกโรค และอาจไม่สามารถไปรักษาพยาบาลในโรคที่ซับซ้อนได้ (เช่น ปัญหาการเดินทาง การดูแลผู้ป่วย เพราะหมอส่วนใหญ่กระจุกตัวในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่) แม้ว่าจะมีสิทธิ์รักษาก็ตาม

 

Sponsored Ad

 

        ข้อมูลของสภาพัฒน์ฯ นี้ ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานที่สำคัญของรัฐ ที่คนที่มาจากครอบครัวที่รวยกว่า กลับได้รับประโยชน์มากกว่า และทำให้ความเหลื่อมล้ำยิ่งมากขึ้นไปอีก น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ รวมถึงคนรวยส่วนหนึ่ง ไม่เคยทราบข้อมูลนี้ว่า ชีวิตที่ดีของตนพึ่งพาคนอื่นๆ (โดยผ่านกลไกรัฐ) อยู่มากเพียงใด 

        ภายใต้ความไม่รู้อันนี้ การกล่าวคำว่า “ให้คนจนพึ่งพาตนเอง” นอกเหนือจากความหวังดีแล้ว ก็อาจเป็นไปเพื่อเบี่ยงเบนประเด็นจากความเหลื่อมล้ำและความไม่ชอบธรรมดังกล่าว ซึ่งจะมีผลให้คนรวยสามารถรักษาระบบที่เป็นอยู่ และสถานภาพความได้เปรียบของตนไว้ได้ แบบ “เนียนๆ”

 

Sponsored Ad

 

        เป็นเรื่องดีที่สังคมพูดคุยถกเถียงกันเรื่องความเหลื่อมล้ำ สิ่งที่สำคัญกว่าคือการทำความเข้าใจประเด็นความเหลื่อมล้ำโดยไม่หลงประเด็น เพราะการรับรู้ที่ผิด ย่อมทำให้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็น ผู้ที่สนใจเรื่องความเหลื่อมล้ำ ยังสามารถติดตามประเด็นที่เกี่ยวข้องได้ทางเพจของ ศูนย์วิจัยความเหลื่อมล้ำและนโยบายสังคม (CRISP) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ข้อมูลจาก Decharut Sukkumnoed

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ