ขอตามรอยพ่อของแผ่นดิน "นักบินหญิง" ฝนหลวงคนแรกของไทย อายุเพียง 25 ปี ดรีกรีไม่ธรรมดา

คอมเมนต์:

ทั้งน่ารัก และมากฝีมือ

        เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีรายงานว่า "น.ส.สร้อยสกุล คุณสุข" หรือ "เอิง" อายุ 25 ปี สาวสวยจากจันทบุรี นักบินหญิงฝนหลวงคนแรกของไทย ที่ได้เข้าสู่การเป็นนักบิน ภายใต้ปีกฝนหลวง เป็นนักบินสาวที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วเป็นอย่างดีจาก กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

        เอิง สร้อยสกุล คุณสุข ได้เข้าร่วมปฎิบัติ การฝึกบินทบทวนการบินฝนหลวง ประจำปี 2561 จบการศึกษาจากคณะวิศวะอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

 

Sponsored Ad

 

        เอิง สร้อยสกุล คุณสุข พร้อมที่จะปฎิบัติหน้าที่ในการทำฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ปี 2561 แล้ว

 

Sponsored Ad

 

        เอิงได้กล่าวว่า “การได้มาเป็นนักบินฝนหลวงหญิงคนแรกมันเป็นสิ่งที่ดี เพราะมันทำให้บุคคลภายนอกได้รู้ว่ากรมฝนหลวงฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาเป็นนักบิน และไม่ว่าจะเป็นผู้ชายผู้หญิงจะทำอาชีพอะไร ทุกคนมีวิธีการแสดงออกการทำความดีในแบบตัวเอง”

        โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร

 

Sponsored Ad

 

        เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. 2498 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร

 

Sponsored Ad

 

        จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ “ฝนหลวง”(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2512 ด้วยความสำเร็จของ โครงการ

        จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

 

Sponsored Ad

 

        การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม

 

Sponsored Ad

 

        กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา

        ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย “สูตรร้อน” ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการของบรรยากาศ, “สูตรเย็น” ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก ฐิติวณา อุปนันท์, Army PR Center

บทความแนะนำ More +

บทความที่คุณอาจสนใจ